
พาชม Great Barrier Reef แนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์
- Blackcat
- 62 views
Great Barrier Reef แนวปะการังสำคัญ ที่ถูกยกให้มรดกทางธรรมชาติ จากองค์การยูเนสโก แนวปะการังนี้ จะมีความสำคัญ และความเป็นมาอย่างไร เราไปรับชมพร้อมกันเลย
เกรทแบร์ริเออร์ แนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก และทางยูเนสโก ได้นำขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เนื่องจากผ่านเกณฑ์ (vii), (viii), (ix), (x) ตามหลักพิจารณา เกรทแบร์ริเออร์จึงกลายเป็น มรดกทางธรรมชาติไปในที่สุด
เกรทแบร์ริเออร์รีฟ แหล่งระบบนิเวศ ที่มีความหลากหลายที่สุดในโลก ประกอบด้วย เกาะมากถึง 900 เกาะ แนวปะการังที่ย่อยออกมาอีกราว ๆ 2,900 แห่ง แนวปะการังนี้ใหญ่ จนสามารถเห็นได้จากทางอวกาศ ด้วยความยาวกว่า 2,600 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 344,400 ตารางกิโลเมตร
และยังมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า ปะการังโพลิป รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว ด้วยความอัศจรรย์นี้ ทำให้เกรทแบร์ริเออร์รีฟ กลายเป็นทั้งมรดกโลก และสิ่งมหัศจรรย์ของโลกด้วย
ข้อมูลทั่วไปของเกรทแบร์ริเออร์รีฟ
ที่มา: Great Barrier Reef [1]
การเคลื่อนตัวของตัว ของประเทศออสเตรเลีย ไปทางทิศเหนือเริ่มขึ้นในช่วง มหายุคซีโนโซอิก ด้วยอัตรา 7 เซนติเมตรต่อปี และเคยการยกตัวขึ้น ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดการยกตัว ยังมีการปะทุของภูเขาไฟร่วมด้วย ทำให้บางส่วนโผล่ขึ้นมา และกลายเป็นเกาะหลายแห่งในปัจจุบัน
หลังจากเกิดแอ่งมากมาย ก็กลายเป็นที่สะสมของเหล่าปะการัง แต่ 25 ล้านปีต่อมา ทางตอนเหนือของควีนส์แลนด์ น้ำเกิดอุณหภูมิ ที่เย็นเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบ ต่อการเติบโตของปะการัง
แต่หลังจากที่รัฐควีนส์แลนด์ ได้มีการเคลื่อนตัวเข้าสู่เขตร้อนชื้น และความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล จึงทำให้การเจริญเติบโต ของแนวปะการังเพิ่มมากขึ้น
ในส่วนนี้ จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศ การค้นพบ การเสื่อมสภาพจากภัยคุกคาม และผ่อนคลายด้วยสถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าสนใจในออสเตรเลียกันค่ะ
แนวปะการังถูกค้นพบครั้งแรกโดย กัปตันเจมส์ คุก ผู้เป็นทั้งนักสำรวจ, นักทำแผนที่ รวมถึงเจ้าหน้าที่กองทัพเรือชาวอังกฤษ ในปี 1770 เนื่องจากเขาได้ล่องเรือ เพื่อทำแผนที่ในแถบชายฝั่งตะวันออก
ของประเทศออสเตรเลีย และในวันที่ 11 มิถุนายน 1770 เรือของเขา ได้เกยอยู่บนแนวปะการังทางใต้ ซึ่งในตอนนี้กลายเป็นเมืองคุกทาวน์ ส่วนความเป็นมาของชื่อ เกรทแบร์ริเออร์นั้น ถูกตั้งโดย แมทธิว ฟลินเดอร์ส
มีการบันทึกว่าสัตว์ทะเล ที่อาศัยอยู่ ตามแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์ มีมากถึง 30 สายพันธุ์ รวมถึง วาฬหลังค่อม, วาฬมิงค์แคระ และ โลมาหลังค่อมอินโด-แปซิฟิก
สายพันธุ์สัตว์ทะเล ในแถบปะการัง
ที่มา: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแนวปะการัง: พืชและสัตว์บนแนวปะการัง Great Barrier [2]
สำหรับภัยที่สามารถคุกคาม แนวปะการังนี้ได้ก็ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการฟอกขาว ของปะการังมากขึ้น, กรดในมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้น, มลพิษและคุณภาพน้ำ
การสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่ง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกรอง, ยูโทรฟิเคชั่น หรือ ปุ้ยจากการเกษตร, ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในการเกษตร, การส่งสินค้าที่ผ่าน แนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์, การฆ่าฉลามโดยเจตนา, การทำประมงมากเกินไป
ที่มา: 15 ที่เที่ยวออสเตรเลีย ที่ห้ามพลาดในแต่ละเดือน แถมไปได้ด้วยตัวเอง [3]
สรุปแล้วสำหรับบทความนี้ เราได้พาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ สถานที่สำคัญทางธรรมชาติ เป็นแหล่งรวมสัตว์ทะเลมากมาย ที่ถูกยกเป็นมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกด้วย
เกรทแบร์ริเออร์รีฟ เป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ซึ่งยาวที่มีความยาวถึง 2,600 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 344,400 ตารางกิโลเมตร และเกาะมากถึง 900 เกาะเลยทีเดียว
ในแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์ มีการบันทึก ว่าพบสัตว์ทะเลหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น ปลาอื่น ๆ งูทะเล เต่าทะเล หญ้าทะเล หอย ม้าน้ำ กบ ปลากระเบน ปลากระเบนธง หรือไคเมรา ฉลาม วาฬหลังค่อม วาฬมิงค์แคระ และ โลมาหลังค่อมอินโด-แปซิฟิก