แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ สล็อต คาสิโน บาคาร่า พร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

พาไปรู้จัก ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช ที่ถือกำเนิดบนโลก

ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช

ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช กลุ่มสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิดขึ้นมา และสูญพันธุ์ไปเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พวกมันมีการแบ่งกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มไดโนเสาร์คอยาว มีร่างกายขนาดใหญ่ หรือกลุ่มไดโนเสาร์กินพืช ที่เดินด้วยสองขาหลัง ในบทความนี้ เราจะพาไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่กินพืชเป็นอาหาร

ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช มีกลุ่มใดบ้างที่มีชื่อเสียง

สำหรับ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช ที่มีลักษณะโดดเด่น และมีชื่อเสียงมากที่สุด นั่นก็คือกลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropoda) ที่มีลักษณะเด่นหลายด้าน เช่น คอและหางที่มีลักษณะยาว หัวเล็ก และมีสะโพกคล้ายกิ้งก่า ซึ่งไดโนเสาร์กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะมีการเคลื่อนไหวสี่ขา อีกหนึ่งลักษณะที่โดดเด่น นั่นก็คือร่างกายมหึมาของพวกมัน

ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดที่เก่าแก่ และมนุษย์รู้จักมากที่สุด มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น โดยเฉพาะ Isanosaurus และ Antetonitrus จากรอยเท้าที่เกิดขึ้นในกรีนแลนด์ บ่งบอกว่าพวกมันมีอายุตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย มาจนถึงปลายยุคจูราสสิก ประมาณ 150 ล้านปีก่อน และไดโนเสาร์กลุ่มนี้ ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก

อีกหนึ่งกลุ่มไดโนเสาร์กินพืชที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ ไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโทพอด (Ornithopoda) ซึ่งมีการค้นพบมากที่สุดในช่วงยุคครีเทเชียส และสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ อิกัวโนดอน (Iguanodon) ไดโนเสาร์กินพืชเดินสองขา มีร่างกายใหญ่โต พวกมันถูกเรียกว่าไดโนเสาร์ปากเป็ด จากยุคครีเทเชียส [1]

ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด มีสายพันธุ์ใดบ้าง?

ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช
  • Camarasaurus : สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ จากทวีปอเมริกาเหนือ พวกมันดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิก ประมาณ 155 ล้านปีก่อน การค้นพบฟอสซิลครั้งแรก เกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ในปี 1877 ถูกพบโดยโอราเมล วิลเลียม ลูคัส สามารถคลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การขุดพบ คามาราซอรัส
  • Brachiosaurus : สัตว์ที่มีร่างกายสูงใหญ่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มีการค้นพบฟอสซิลครั้งแรกในปี 1900 ในบริเวณหุบเขาแม่น้ำโคโลราโด นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบฟอสซิลที่แตกต่างกัน 16 ชิ้น หากอยากรู้ว่าพวกมันชื่นชอบอาหารประเภทใด คลิกเข้าไปดูได้ที่ แบรคิโอซอรัส กินอะไร
  • Argentinosaurus : สายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส การค้นพบฟอสซิลครั้งแรก บริเวณฟาร์มของ กิเยร์โม เอเรเดีย พวกมันออกลูกด้วยการวางไข่ และมีการค้นพบฟอสซิลที่แตกต่างกันเพียงชิ้นเดียว ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฟอสซิล อาร์เจนติโนซอรัส
  • Diplodocus : ไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิก ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบฟอสซิลที่แตกต่างกัน 30 ชิ้น และด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่นนั้น ทำให้พวกมันมีบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม คลิกดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้ที่ ประวัติการพบ ดิพลอโดคัส

ไดโนเสาร์ชนิดใดสร้างชื่อให้กลุ่มออร์นิโทพอด?

อิกัวโนดอน หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ แอฟริกา ยุโรป และเอเชีย ย้อนกลับไปในช่วงต้นยุคครีเทียส ประมาณ 144 ล้านปีก่อน พวกมันถูกจัดให้อยู่ในตระกูลย่อย Iguanodontidae ซึ่งประกอบไปด้วยไดโนเสาร์ที่มีสะโพกคล้ายนก และมีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างช้า

อิกัวโนดอนที่เจริญเติบโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 30 ฟุต มีความสูงกว่า 15 ฟุต และอาจมีน้ำหนักโดยรวมประมาณ 5 ตัน จากการสำรวจซากฟอสซิล พบว่าพวกมันมีพฤติกรรมการเดินสองขา และสามารถเดินสี่ขาได้ในบางกรณี กะโหลกศีรษะประกอบไปด้วยปากที่เป็นจะงอย ไม่มีฟัน และใช้มือในการดึงใบไม้เข้าปาก

การค้นพบฟอสซิลครั้งแรก ถูกพบทางตอนใต้จองอังกฤษ เมื่อต้นทศวรรษ 1820 ในบรรดาฟอสซิลเหล่านี้ มีการค้นพบฟันที่แปลกประหลาด ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสงสัย และคิดว่าฟอสซิลนี้เป็นของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ต่อมาได้มีการเสนอว่า ฟอสซิลฟันเหล่านี้ อาจเป็นของสัตว์เลื้อยคลานที่ไม่ทราบชื่อมาก่อน [2]

ไดโนเสาร์กินพืชมีวิวัฒนาการอย่างไร?

ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช

หลังจากเกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ที่ทำให้สัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ สูญพันธุ์ไปจากยุคเพอร์เมียน ซึ่งส่งผลให้ระบบนิเวศในช่วงเวลานั้น เกิดการสร้างระบบขึ้นมาใหม่ และเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณ 252 ล้านปีก่อน และเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่

การศึกษางานวิจัยครั้งล่าสุด โดยทีมวิจัยจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โลก แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล ได้ค้นพบหลักฐานใหม่ ที่แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน เกี่ยวกับการฟื้นฟูหลังจากสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ นักวิจัยสามารถเชื่อมโยงการวิวัฒนาการในครั้งนี้ เกี่ยวกับไดโนเสาร์กินพืชที่รอดชีวิต และสามารถปรับตัวได้มากถึง 90%

แต่ไดโนเสาร์กินพืชที่ปรับตัวได้ในช่วงเวลาต่อมา ก็ได้มีการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว รวมถึงไดโนเสาร์รุ่นแรก จากการศึกษาฟอสซิลหลายร้อยชิ้น และเปรียบเทียบรูปร่างของพวกมัน พบว่าไดโนเสาร์หรือสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารนั้น มีการปรับตัว และวิวัฒนาการให้กินพืชชนิดใหม่ เพื่อทำให้พวกมันมีชีวิตรอดในเวลาต่อมา

การค้นพบสัตว์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุดของโลก

จากการศึกษาครั้งใหม่ ของมหาวิทยาลัยในอเมริกา ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน พวกเขาได้ค้นพบสัตว์กินพืชที่เก่าแก่มากที่สุด และเผยให้เห็นวิวัฒนาการสุดแปลก โดยเฉพาะสัตว์ที่กินเนื้อ กลายมาเป็นสัตว์ที่กินพืช มีการค้นพบฟอสซิลกระดูกวัยเด็กของ อีโอคาเซีย มาร์ตินี พบในรัฐแคนซัส ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ฟอสซิลเหล่านี้ มีอายุย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 300 ล้านปีก่อน พวกมันมีขนาดไม่ถึง 20 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยกะโหลกบางส่วน กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกราน จากการศึกษาทางกายวิภาค พบว่าพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตตั้งแต่สัตว์กินพืชยุคแรก ไปจนถึงสัตว์นักล่าที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร

ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยโตรอนเผยว่า สัตว์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่บนโลก และอยู่มาก่อนการถือกำเนิดของไดโนเสาร์ ประมาณ 80 ล้านปีก่อน อีกทั้งยังเป็นญาติที่เก่าแก่มากที่สุด ในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก แต่ในช่วงเวลาต่อมา พวกมันกลับกลายเป็นบรรพบุรุษของสัตว์กินพืช [3]

มีการค้นพบไดโนเสาร์กินพืชในไทยหรือไม่?

  1. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน : หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่เคยอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบในอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น มีการค้นพบฟอสซิลมากถึง 800 ชิ้น
  2. ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ : ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก ที่มีความยาวของร่างกายเพียง 1 เมตร เคยอาศัยอยู่ในช่วงกลางยุคครีเทเชียส ประมาณ 100 ล้านปีก่อน มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของพวกมัน ในจังหวัดชัยภูมิ
  3. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ : ไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่มากที่สุด พวกมันเคยอาศัยอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน ฟอสซิลพวกมันถูกพบในจังหวัดชัยภูมิ
  4. สยามโมดอน นิ่มงามมิ : หนึ่งในสายพันธุ์ออร์นิโทพอดสกุลใหม่ ที่ปรากฏขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ 100 ล้านปี พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก มีกระดูกขากรรไกรรูปสามเหลี่ยม มีการค้นพบฟอสซิลในจังหวัดนครราชสีมา
  5. ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ : เป็นไดโนเสาร์กินพืชกลุ่มเดียวกับอิกัวโนดอน มีการค้นพบซากฟอสซิลส่วนกรามล่าง ขากรรไกร ขาหน้า และนิ้วมือที่สามารถงอเพื่อจับกิ่งไม้ ฟอสซิลถูกพบในจังหวัดนครราชสีมา

สรุป ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช

โดยรวมแล้ว จากข้อมูลที่ทางผู้เขียน ได้นำเสนอให้กับผู้อ่านเอาไว้ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก และสามารถวิวัฒนาการ จนกลายมาเป็นบรรพบุรุษของสัตว์กินพืชในยุคปัจจุบัน นอกจากจะมีการค้นพบฟอสซิลในต่างประเทศ ยังมีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชในไทยอีกด้วย

อิกัวโนดอนปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องใดบ้าง?

สำหรับรูปลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ทำให้มันได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก จนนำไปสู่การเขียนบทบาทให้พวกมันปรากฏตัวในสื่อต่างๆ คุณสามารถพบเจอไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้ จากการรับชมภาพยนตร์เรื่อง Dinosaur หรือสามารถพบเจอพวกมันในภาพยนตร์ The Land Before Time

เหตุใดไดโนเสาร์กินพืชสูญพันธุ์ไปจากโลก?

สาเหตุที่ไดโนเสาร์กินพืช รวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ได้ล้มตายไปจากโลก เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 70 ล้านปีก่อน เกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุอย่างรุนแรง ในประเทศอินเดียตอนเหนือ ก่อให้เกิดฝุ่นและเถ้าถ่าน ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้พืชล้มตาย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของไดโนเสาร์กินพืชหลายๆ สายพันธุ์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง