แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ สล็อต คาสิโน บาคาร่า พร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ จุดเริ่มต้นของนักล่ายุคแรก

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ที่ถือกำเนิดบนโลก ซึ่งอาจจะต้องย้อนกลับไปในช่วงมหาทวีปแพนเจีย โดยฟอสซิลของไดโนเสาร์นักล่าชนิดแรก มีลักษณะคล้ายกิ้งก่า ซึ่งต่อมาถูกเรียกกลุ่มสัตว์กินเนื้อพวกนี้ว่า เทอโรพอด สายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเด่นมากมาย เราจะพาไปดูไดโนเสาร์กินเนื้อยุคแรกเริ่ม เท่าที่มีการค้นพบ

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ สายพันธุ์แรกถูกพบที่ใด?

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ซึ่งถูกเปิดเผยผ่านการค้นพบฟอสซิล ในพื้นที่ของประเทศบราซิล ถูกค้นพบโดยนักบรรพชีวินวิทยา โรดริโก มุลเลอร์ (Rodrigo Muller) ซึ่งในช่วงเวลานั้น เขากำลังทำงานอยู่ใกล้กับตัวเมือง อยู่มาวันหนึ่ง สมาชิกในทีมของเขา เริ่มถ่ายภาพฟอสซิล และดูเหมือนว่าเป็นฟอสซิลสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์

มุลเลอร์ได้ศึกษาฟอสซิลที่มีการค้นพบ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกต้นขา ชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะ ฟอสซิลดังกล่าว ถูกค้นพบในเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของบราซิล และพบว่าเป็นของสัตว์กินเนื้อ ที่มีความเก่าแก่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ต่อมาได้ถูกนำไปตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า Gnathovorax cabreirai ย้อนกลับไปถึง 230 ล้านปีก่อน

จากหลักฐานฟอสซิลที่ถูกค้นพบ ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ทำให้เกิดตะกอนจากแม่น้ำ ที่ถูกปกคลุมไปทั่วโครงกระดูกของพวกมัน จนนำไปสู่กระบวนการกลายเป็นฟอสซิล ที่ยังคงความสมบูรณ์ มุลเลอร์และเพื่อนร่วมงานของเขา ที่มาจากหลายๆ มหาวิทยาลัย ได้บรรยายข้อมูลไว้ในวารสาร Peer J.

Gnathovorax cabreirai มีที่มาอย่างไร?

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ

เจ้าไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดแรกของโลก มีความยาวประมาณ 10 ฟุต และยกย่องให้มันเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุด ที่พบในประเทศบราซิล ถูกจัดให้อยู่ในตระกูล Herrerasauridae และยังมีไดโนเสาร์ที่อาศัยในยุคเดียวกัน นั่นก็คือ Buriolestes schultzi แต่มีขนาดเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรกของโลก

หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล ในครั้งแรกนั้น ยังคงมีการถกเถียงกันว่า พวกมันเป็นสายพันธุ์ต้นกำเนิด ของไดโนเสาร์นักล่าที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น ไทรันโนซอรัส หรือ ฟอสซิล ทีเร็กซ์ แต่การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ตระกูลกิ้งก่า กลับแสดงให้เห็นว่า ไดโนเสาร์ประเภทนี้ มีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป

และไดโนเสาร์ตัวนี้ เป็นหนึ่งในแรงผลักดัน และมีความเกี่ยวข้องทางวิวัฒนาการ ที่ผลักดันให้ไซโนดอนต์ เข้าไปอยู่ในกลุ่มสัตว์หากินในเวลากลางคืน เมื่อประมาณ 233 ล้านปีก่อน และถือเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่มีสติปัญญา ส่วน Staurikosaurus pricei เป็นไดโนเสาร์ที่พบในบราซิล และเป็นตัวสุดท้ายที่พบจากกลุ่มเฮอร์เรราซอริด [1]

ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดกินอะไรบ้าง?

สำหรับพฤติกรรมการกิน ของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ มีอาหารการกินที่หลากหลาย ตั้งแต่แมลง ไปจนถึงเนื้อของสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ การเป็นนักล่าที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก ถือเป็นพฤติกรรมของไดโนเสาร์เทอโรพอดมาโดยตลอด และในช่วงเวลานั้น จะมีอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะเทอโรพอดประเภทนก

การค้นพบในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จนถึงต้นศตวรรษที่ 21 ฟอสซิลเทอโรพอดยุคแรกทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า พวกมันกินอาหารที่หลากหลาย ฟอสซิลเทอโรพอดยุคแรกที่รู้จัก ประกอบไปด้วยฟันอันแหลมคม พร้อมขอบหยักสำหรับตัดหรือฉีกเนื้อของเหยื่อ โดยเฉพาะฟอสซิลของไดโนเสาร์ Compsognathus

ในปัจจุบัน สัตว์จำพวกกลุ่มเทอโรพอดที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ นกกระจอกเทศ ซึ่งมีความสูง 2.74 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 90-130 กิโลกรัม พวกมันเป็นเทอโรพอดที่ไม่ใช่สัตว์ปีกที่เล็กที่สุด จากตัวอย่างฟอสซิลไดโนเสาร์ที่โตเต็มวัย Anchiorni ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่มีลำตัวยาวประมาณ 34 เซนติเมตร [2]

ไดโนเสาร์เทอโรพอด มีลักษณะกายภาพอย่างไร?

ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ

สำหรับไดโนเสาร์เทอโรพอดทุกๆ สายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะเคลื่อนไหวด้วยสองขาหลัง หมายความว่า พวกมันสามารถยืนตัวตรง เดินหรือวิ่งด้วยขาหลังทั้งสองข้าง ขาของพวกมันยาว และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกแข้งยาวกว่ากระดูกต้นขา มีแขนที่ค่อนข้างสั้น นิ้วประกอบไปด้วยกรงเล็บ 2-3 นิ้ว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

แต่หลังจากที่มีการศึกษาฟอสซิลเทอโรพอด พบว่าทุกสายพันธุ์ จะมีนิ้วที่สี่และนิ้วที่ห้า ที่มีขนาดเล็กมาก เท้าของมันมีลักษณะคล้ายนก ประกอบไปด้วยนิ้วเท้าทั้งหมด 5 นิ้ว โดยนิ้วเท้าที่มีกรงเล็บ จะชี้ไปข้างหน้า และไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด ส่วนใหญ่จะมีกระดูกกลวง มีฟันแหลมคม เรียงรายอยู่บริเวณขากรรไกร

ฟันแหลมคม และขากรรไกรอันทรงพลัง ทำให้มันสามารถฉีกเนื้อของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย โดยแตกต่างไปจากสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไดโนเสาร์เทอโรพอดยังมีซี่โครงบริเวณหน้าท้อง ด้วยลักษณะพิเศษของพวกมัน ออกแบบมาเพื่อปกป้องอวัยวะภายในช่องท้อง เพราะบริเวณนี้มีความเปราะบาง อาจทำให้มันได้รับบาดเจ็บสาหัส [3]

ไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดใดบ้างที่มีความดุร้าย?

  • ทรูดอน (Troodon) : หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่มีรูปร่างเล็ก แต่มีสมองที่ใหญ่ ทำให้มันถูกจัดให้เป็นนักล่าที่น่ากลัวมากที่สุดชนิดหนึ่ง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การค้นพบ ทรูดอน
  • กิกาโนโตเซารัส : เป็นสัตว์นักล่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยฟอสซิลที่โตเต็มวัยที่ถูกค้นพบ มีน้ำหนักถึง 8 ตัน มันเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ขี้หงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา และมันสามารถอ้าปากได้กว้าง เพื่อกินสัตว์ชนิดอื่นได้ด้วยคำเดียว
  • ซาร์โคซูชูส : นี่เป็นบรรพบุรุษของจระเข้ในยุคปัจจุบัน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าหลายเท่า
  • อัลโลเซารัส : หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่า ที่มีนิสัยดุร้ายมากที่สุด ในยุคจูราสสิก พวกมันมีกรงเล็บแหลมคม มีฟันขนาดใหญ่ ที่เอาไว้ขย้ำเนื้อของเหยื่อ
  • ไทแรนโนเซารัส เร็กซ์ : ไดโนเสาร์เครื่องจักรสังหาร ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง และมนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี จากการปรากฏตัวในภาพยนตร์ หรือสารคดีหลายเรื่อง มันมีฟันขนาดใหญ่ ที่สามารถใช้โจมตีเหยื่อได้อย่างง่ายดาย
  • ยูทาห์แรปเตอร์ : หนึ่งในกลุ่มสัตว์กินเนื้อ ที่มีความฉลาด และว่องไวมากที่สุด
  • ไดโลโฟเซารัส : สัตว์นักล่าที่มาพร้อมกับความสูงเพียง 6 ฟุต แต่มีนิสัยที่ก้าวร้าว ออกล่าเหยื่อโดยอาศัยความเร็วในการเคลื่อนที่
  • สไปโนซอรัส : ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พวกมันมีความยาว และมีน้ำหนักเทียบเท่ากับทีเร็กซ์ สิ่งที่ทำให้มันมีชื่อเสียงมากที่สุด ก็คือครีบบนแผ่นหลัง คล้ายกับใบเรือ คุณสามารถติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ ถิ่นอาศัย สไปโนซอรัส

การค้นพบไดโนเสาร์กินเนื้อในประเทศไทย

ข่าวสารเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 รายงานจากเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร ได้เข้าตรวจสอบบริเวณพื้นที่ของอุทยานภูแฝก ตำบลภูแลนช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีการแจ้งเบาะแสการค้นพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ ที่มีมากกว่า 10 รอย ที่กระจายตัวอยู่บนลานหินทราย คาดว่ามีอายุประมาณ 140 ล้านปีก่อน

รอยเท้าของไดโนเสาร์ที่พบ มีความยาวประมาณ 21-30 เซนติเมตร มีความกว้างประมาณ 17-31 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าเป็นของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งไดโนเสาร์ชนิดนี้อาจมีความสูงเพียง 2 เมตร และมีความยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบรอยเท้าแห่งใหม่ในประเทศไทย

สำหรับรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อนี้ อยู่ห่างจากบริเวณที่เคยมีการค้นพบทางเดินไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ห่างประมาณ 1.5 กิโลเมตร และในอนาคต คาดว่าจะมีการพัฒนาแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์แห่งนี้ ให้กลายเป็นสถานที่ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางธรณีวิทยา [4]

สรุป ไดโนเสาร์นักล่ากินเนื้อ

หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล ที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ โดยเฉพาะการค้นพบฟอสซิลของสัตว์กินเนื้อชนิดแรกของโลก ที่ย้อนกลับไปในช่วงมหาทวีปแพนเจีย จนนำไปสู่การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดใหม่ ที่ดูเหมือนว่าจะมีความดุร้าย ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการวิวัฒนาการ

ไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรกของไทยมีชื่อว่าอะไร?

ประเทศไทย ก็ถือเป็นแหล่งโบราณคดีของสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ โดยไดโนเสาร์นักล่าตัวแรก มีชื่อว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni) ถูกพบที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สกลนคร และอุบลราชธานี ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน

พบฟอสซิลไดโนเสาร์ในชั้นหินใดบ้าง?

สำหรับการที่จะพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ หรือซากสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ มักพบในชั้นหินตะกอน นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งได้จากอายุของชั้นหินชั้นล่าง เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในชั้นหินชั้นบน มีความซับซ้อน แต่ใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง