
เลโซโทซอรัส กินอะไร และมีการค้นพบตั้งแต่เมื่อไหร่?
- Chono
- 54 views
เลโซโทซอรัส กินอะไร ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตอยู่ หลังจากที่มนุษย์ได้ขุดเจอซากดึกดำบรรพ์ จนนำไปสู่การศึกษาทางด้านโครงสร้าง และลักษณะทางกายภาพ จึงรู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้กินอะไรเป็นอาหาร พวกมันเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิกตอนต้น ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน
สำหรับคำถามที่ถามว่า เลโซโทซอรัส กินอะไร ทางผู้เขียนจะมาบอกข้อมูลที่น่าสนใจ หลังจากที่มีการขุดเจอฟอสซิล ทำให้ได้รู้ว่าลักษณะทางกายภาพของพวกมัน มีการปรับเปลี่ยนให้มีรูปร่างเพรียวบาง โดยโครงสร้างที่เบาบางนี้ ทำให้พวกมันสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคง ด้วยขาหลังที่แข็งแรง ทำให้ออกหาอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศีรษะของมันมีขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยปากที่เป็นจะงอย ซึ่งออกแบบมาเพื่อการกัดหรือแทะพืช การที่พวกมันไม่มีฟันนั้น จึงถูกแทนที่ด้วยปากที่เป็นจะงอย ทำให้มันมักจะกินพืชอ่อนๆ ที่สามารถคว้าและกินได้ง่าย เพราะว่ามันมีลักษณะที่แตกต่างไปจากไดโนเสาร์กินพืชชนิดอื่น และการเลือกกินพืชชนิดต่างๆ ทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้ถึงระบบนิเวศของพวกมันอีกด้วย
จากตัวอย่างฟอสซิลที่มีการค้นพบ รวมไปถึงโฮโลไทป์ต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญต่อความเข้าใจ และมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งฟอสซิลเหล่านี้ ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน [1]
สำหรับฟอสซิลของไดโนเสาร์ Lesothosaurus มีการคาดเดาไว้ว่า อาจถูกพบในปี 2502 โดยนักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส ฌอง เฟเบอร์ (Jean Fabre) ได้เก็บชิ้นส่วนตัวอย่าง 3 ชิ้น ซึ่งน่าจะเป็นฟันของสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ พบในบริเวณชั้นหินสีแดง ที่เป็นชั้นหินตะกอน ในประเทศเลโซโท ทางตอนใต้ของแอฟริกา มีอายุย้อนกลับไปถึงยุคจูราสสิกตอนต้น
ข้อมูลของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ได้รับการอธิบายในปี 2507 และจัดประเภทให้มันอยู่ในตระกูล Scelidosauridae โดยวินิจฉัยจากสัณฐานของฟัน ที่มีลักษณะผิดปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียน Heterodontosaurus เนื่องจากลักษณะที่ไม่สัมพันธ์กันนั้น จึงมองว่ามันเป็นโฮโลไทป์เดียวที่มนุษย์รู้จัก
ต่อมานักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ปีเตอร์ กัลตัน (Peter Galton) เขาได้ตั้งชื่อตัวอย่างฟอสซิลที่ถูกค้นพบว่า Lesothosaurus diagnoses ซึ่งชื่อสามัญมาจากชื่อของราชอาณาจักรเลโซโท เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ขุดเจอฟอสซิล และฟอสซิลส่วนใหญ่ที่มีการขุดพบนั้น จะประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะบางส่วน ที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์
ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากขุดพบฟอสซิล
เดิมทีนั้น เลโซโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินพืช จากกลุ่มออร์นิโทพอด แต่การวิจัยครั้งล่าสุด เปิดเผยข้อมูลไว้ว่า พวกมันอาจเป็นไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียนยุคดั้งเดิม และอาจเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ และข้อมูลทางอนุกรมวิธานของพวกมัน ยังมีความซับซ้อน และมีลักษณะที่คล้ายกับไดโนเสาร์ฟาโบรซอรัส
ข้อมูลในปี 2548 โดย ริชาร์ด เจ. บัตเลอร์ เขาได้ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน หลังจากที่ได้ทำการศึกษาฟอสซิล ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของออร์นิทิสเชียน เขาได้เสนอข้อมูลไว้ว่า เลโซโทซอรัสเป็นสมาชิกพื้นฐานของกลุ่มนีออร์นิโทสเชีย ร่วมกับไดโนเสาร์แพคิเซฟาโลซอรัส และเซราทอปเซียน
บทบาทสำคัญในวัฒนธรรมสมัยนิยม
ที่มา: Classification [2]
เนื่องจากมีการขุดพบฟอสซิลจำนวนมาก ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ โดยข้อมูลระบุไว้ว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีโครงสร้างทางร่างกายเบาบาง ซึ่งมีความยาวระหว่าง 1-2 เมตร มันเป็นสัตว์ในตระกูลออร์นิทิสเชียนยุคแรกๆ ที่มีลักษณะขาเรียวยาว แขนเล็ก และหางยาว ออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว
เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียน ที่มีปากเป็นจะงอย ขากรรไกรบนและล่าง จะประกอบไปด้วยฟันรูปทรงใบไม้ จากการวิเคราะห์ฟันของพวกมัน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการกิน ด้วยการเคี้ยวหรือหั่นอาหาร และจากการศึกษาฟอสซิลฟันของพวกมัน แสดงให้เห็นถึงการทนต่อสภาพอากาศ ซึ่งมีลักษระแห้งแล้งเป็นหลัก
กะโหลกศีรษะขนาดเล็ก มีลักษระแคบและแหลม พวกมันมีเบ้าตาขนาดใหญ่ มีโพรงขนาดใหญ่สำหรับกล้ามเนื้อตาและขากรรไกร ปลายจมูกมีกระดูกขนาดเล็กยื่นออกมา ซึ่งจะอยู่บริเวณปลายขากรรไกรล่าง และส่วนหน้าของกะโหลกศีรษะ สำหรับโครงกระดูกของพวกมัน ได้รับการอธิบายในปี 2016 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียนยุคแรก [3]
สำหรับถิ่นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะมีสภาพแวดล้อมอบอุ่นและแห้งแล้ง เมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่ผ่านมา ปัจจุบันคือประเทศเลโซโททางตอนใต้ของแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว เต็มไปด้วยพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ และเหมาะแก่การหาอาหาร พวกมันอาจอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ได้แก่ แม่น้ำ หรือทุ่งหญ้าโล่งกว้าง ซึ่งทำให้มันสามารถเจริญเติบโตได้ดี
ในส่วนของพฤติกรรมการทางสังคม และพฤติกรรมในการสืบพันธุ์ของมัน ปัจจุบันได้มีการเปิดเผยข้อมูลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พบว่าพวกมันอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งการอยู่เป็นกลุ่มใหญ่นี้ อาจช่วยให้มันป้องกันตัวจาก ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ซึ่งพวกมันจะสื่อสารด้วยการส่งเสียงร้องออกมา
และการสืบพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันจะมีรูปแบบการวางไข่ ซึ่งเหมือนกับไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ เช่นเดียวกับนกและสัตว์เลื้อยคลานในยุคปัจจุบัน สำหรับการค้นพบฟอสซิลชิ้นส่วนต่างๆ ทำให้รู้ว่าพวกมันอาจสร้างรังเพื่อกักเก็บไข่ แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่แบบครอบครัว และการดำรงชีวิตแบบสังคมใหญ่
หลังจากที่มีการขุดพบฟอสซิล จนนำไปสู่การศึกษาทางกายวิภาค ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาได้รับรู้ว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ กินพืชอ่อนเป็นอาหารหลัก อีกทั้งยังดำรงชีวิตอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากการถูกไล่ล่า และสามารถพบเจอพวกมันได้จากช่องทางต่างๆ เช่น การปรากฏตัวในภาพยนตร์ชื่อดัง
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการอธิบายข้อมูล เกี่ยวกับความเร็วในการเคลื่อนไหวของไดโนเสาร์ชนิดนี้ แต่จากการเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกัน นั่นก็คือไดโนเสาร์ออร์นิทิสเชียน ซึ่งจะมีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ว่องไว สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 40 ไมล์ต่อชั่วโมง มีความเร็วเทียบเท่ากับนกกระจอกเทศ
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สมอง หรือเรียกว่า Encephalization Quotient โดยจะคำนวณจากสมองและขนาดของร่างกาย เพื่อประเมินความฉลาดของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไดโนเสาร์ยุคแรกที่มีความเก่าแก่ แต่พวกมันถือเป็นไดโนเสาร์ที่มีความฉลาด โดยมีค่า EQ ระหว่าง 0.9-1.5