
เซอราโตซอรัส กินอะไร และถูกค้นพบตั้งแต่เมื่อไหร่?
- Chono
- 89 views
เซอราโตซอรัส กินอะไร ในช่วงเวลาที่มันมีชีวิต ซึ่งย้อนกลับไปจนถึงยุคจูราสสิกตอนปลาย เมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อน รวมไปถึงการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ สำหรับรายละเอียดบทความนี้ เราจะพาไปดูอาหารการกิน ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ รวมไปถึงอธิบายลักษณะทางกายภาพของมัน
สำหรับคำถาม เซอราโตซอรัส กินอะไร มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ นักบรรพชีวินวิทยานามว่า โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช (Othniel Charles Marsh) เขาเป็นบุคคลที่ตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ชนิดนี้ เมื่อปี 1884 และสังเกตได้ว่า พวกมันมีรูปร่างที่คล้ายคลึงกับจระเข้ในยุคปัจจุบัน โดยมีหางที่ยาว และลำตัวยืดหยุ่นได้ดี
คาดว่าพวกมันมีพฤติกรรมการว่ายน้ำ จากการวิจัยครั้งล่าสุด มีหลักฐานเพิ่มเติม ที่ได้สนับสนุนหัวข้อของมาร์ช และชี้ให้เห็นว่า เซอราโตซอรัสมักล่าสัตว์น้ำ เช่น ปลา และจระเข้ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ พวกมันยังมีความสามารถในการล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ซอโรพอด และอาจเป็นนักล่าที่ออกหาอาหารเป็นฝูง
ทั้งเซอราโตซอรัสและ อัลโลเซารัส กินอะไร ทั้งสองสายพันธุ์นี้กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ล่าสัตว์ประเภทซอโรพอด (สัตว์กินพืช) สเตโกซอรัส ดรายโอซอรัส และอิกัวโนดอน อีกทั้ง ในบางครั้งพวกมันอาจเป็นซากสัตว์ที่ตาย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของไดโนเสาร์ประเภทนี้ มันใช้เวลาและโอกาสในการกินเนื้อทุกที่ที่ทำได้ [1]
Ceratosaurus ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิก ย้อนกลับไปถึง 153-148 ล้านปีก่อน ซากฟอสซิลของมัน ถูกพบทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่ถูกพบในชั้นหินมอร์ริสัน นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า พวกมันเคยอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ในยุคปัจจุบัน นั่นก็คือบริเวณประเทศโปรตุเกส
ไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดนี้ อาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์นักล่าชนิดอื่น เช่น อัลโลซอรัส ฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้น แสดงให้เห็นว่ามันอาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน และอาจอยู่ในสถานที่เดียวกันอีกด้วย เหตุผลที่ทำให้มันอยู่รอดได้นั้น ก็คือการหาอาหารร่วมกัน หรือออกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดเดียวกัน โดยแบ่งเนื้อจากส่วนต่างๆ ให้กิน
ชิ้นส่วนฟอสซิลที่พบในสถานที่อื่นๆ ในบริเวณประเทศอุรุกวัย แทนซาเนีย และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสร้างความสับสนให้กับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใครเชื่อว่า ไม่มีไดโนเสาร์ชนิดใดอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว รวมไปถึงเซอราโตซอรัส อาจไม่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้
สำหรับไดโนเสาร์ขนาดกลางชนิดนี้ พวกมันมีความยาวระหว่าง 17-25 ฟุต จากฟอสซิลตัวอย่างที่มีการค้นพบ คาดว่าพวกมันมีน้ำหนักประมาณ 1,000-2,000 ปอนด์ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลที่เกือบสมบูรณ์ ที่สามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และขนาดร่างกายของไดโนเสาร์ชนิดนี้
พวกมันเป็นนักล่าที่เดินสองขา และมีนิ้วเท้าข้างละ 3 นิ้ว นี่คือลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มันถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอโรพอด มันมีแขนยื่นออกไปด้านหน้า แม้จะมีขนาดเล็กมาก และแทบจะไม่มีประโยชน์ในการใช้งาน ขาหลังของมันมีขนาดใหญ่ และทรงพลังมาก ช่วยให้มันวิ่งได้เร็ว โดยจะเอนตัวไปข้างหน้าในขณะเดิน
เซอราโตซอรัสมีกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ประกอบไปด้วยขากรรไกรที่ลึก พร้อมกับฟันขนาดใหญ่ ที่ออกแบบมาเพื่อฉีกเนื้อ และที่สำคัญ มันมีเขาที่ทำจากกระดูก อยู่หลังรูจมูก มันมีกระดูกเชิงกรานที่ติดกัน กระดูกฝ่าเท้าที่เชื่อมติดกัน จึงทำให้มันแตกต่างไปจากเทอโรพอดชนิดอื่น [2]
ตัวอย่างฟอสซิลชิ้นแรก ถูกค้นพบโดยเกษตรกร มาร์แชล ปาร์กเกอร์ เฟลช์ (Marshall Parker Felch) ในปี 1883-1884 ซึ่งพบข้อต่อ โดยกระดูกยังคงเชื่อมติดกัน มีลักษณะที่เกือบสมบูรณ์ รวมถึงกะโหลกศีรษะ สำหรับชิ้นส่วนที่ขาดหาย ได้แก่ กระดูกสันหลัง ซี่โครงทั้งหมด กระดูกต้นแขน และกระดูกเท้าเกือบทั้งหมด
ฟอสซิลถูกค้นพบในชั้นหินทรายแข็ง ส่งผลให้กะโหลกศีรษะบิดเบี้ยว ในระหว่างการกลายเป็นฟอสซิล ถูกพบในสถานที่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ Garden Park ทางตอนเหนือของรัฐโคโลราโด ซึ่งถือเป็นฟอสซิลที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด เท่าที่มีการค้นพบในชั้นหินมอร์ริสัน รวมไปถึงการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดอื่นเป็นจำนวนมาก
เอกสารที่ถูกตีพิมพ์ในปี 1892 มาร์ชได้กล่าวไว้ว่า โครงกระดูกจำลองชุดแรก แสดงให้เห็นถึงความยาวและความสูง ดังที่กิลมอร์กล่าวไว้ในปี 1920 ลำตัวของมันถูกวาดให้ยาวผิดปกติ โดยมีกระดูกสันหลังอย่างน้อย 6 ชิ้น ข้อต่อที่ผิดพลาดนี้ เกิดขึ้นซ้ำในสิ่งพิมพ์หลายฉบับ
ที่มา: In the Media [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล จนนำไปสู่การศึกษาทางบรรพชีวินวิทยา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม ถิ่นที่อยู่อาศัยในยุคจูราสสิกตอนปลาย และที่สำคัญ ทำให้รู้ว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร และมักล่าสัตว์น้ำเช่นกัน
การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ที่เป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในยุคปัจจุบัน ก่อนหน้าที่พวกมันอาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือและแอฟริกา คาดว่าน่าจะสูญพันธุ์จากการขาดแหล่งอาหาร หลังจากที่ไดโนเสาร์กินพืชสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้
ความเร็วของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากการศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของกระดูก น้ำหนัก และกล้ามเนื้อของพวกมัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า มันอาจมีความเร็วในระหว่างวิ่ง อยู่ที่ 20-30 ไมล์ต่อชั่วโมง