แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ สล็อต คาสิโน บาคาร่า พร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

อีโอแรปเตอร์ กินอะไร ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก

อีโอแรปเตอร์ กินอะไร

อีโอแรปเตอร์ กินอะไร ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตอยู่บนโลก ซึ่งจากการค้นพบฟอสซิล ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาพบว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร การค้นพบฟอสซิลในประเทศอาร์เจนตินา พบว่าพวกมันเคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 231-228 ล้านปีก่อน มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • เหตุใดอีโอแรปเตอร์กินอาหารได้หลากหลายประเภท?
  • ประวัติการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก
  • ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ

อีโอแรปเตอร์ กินอะไร เหตุใดถึงมีลักษณะประหลาด

สำหรับคำถามที่ถามว่า อีโอแรปเตอร์ กินอะไร พวกมันอาจมีนิสัย หรือพฤติกรรมเช่นเดียวกับ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ แต่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า พวกมันอาจกินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เพราะว่าพวกมันมีฟันที่ผิดปกติ หรือแตกต่างไปจากไดโนเสาร์ชนิดอื่น เพราะฟันลักษณะนี้ มักจะพบในกลุ่มสัตว์ที่กินพืช และกินเนื้อเป็นอาหาร

ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาสรุปได้ว่า อีโอแรปเตอร์เป็นสัตว์กินพืชและกินเนื้อ อีกหนึ่งข้อสงสัยที่น่าสนใจของนักบรรพชีวินวิทยา คาดเดาว่าไดโนเสาร์กลุ่มนี้ อาจมีพฤติกรรมการกินซากสัตว์ที่ตาย เพราะด้วยลักษณะทางกายภาพที่เล็ก แทบจะไม่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ ดังนั้น การคาดเดาในหัวข้อนี้อาจมีความเป็นไปได้

และเนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่อยู่มาก่อนยุค หรือเรียกง่ายๆ ว่า พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด การแบ่งแยกระหว่างไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) และไดโนเสาร์กินพืช (ซอโรพอดและออร์นิธิสเชียน) มาจากการวิจัยลักษณะของฟันของไดโนเสาร์ชนิดนี้ โดยเฉพาะฟันที่อยู่บริเวณด้านหน้าของปาก จะมีลักษระยาวและแหลมคมเป็นพิเศษ [1]

ลักษณะทางกายภาพของอีโอแรปเตอร์ มีอะไรบ้าง?

สำหรับไดโนเสาร์จากยุคเก่าแก่ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มตระกูล ซอโรโพโดมอร์ฟา ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ สำหรับลักษณะทางกายภาพของ Eoraptor พวกมันมีขนาดที่เล็ก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะมีความยาวเฉลี่ยเพียง 3 ฟุต และมีน้ำหนักโดยรวมประมาณ 22 ปอนด์ และมีกระดูกเป็นโพรง ทำให้มันมีน้ำหนักค่อนข้างเบา

พวกมันมีลักษณะการเดิน 2 ขาหลัง หมายความว่า ขาหลังของมันจะมีลักษณะยาวเป็นพิเศษ ทรงพลัง ขาหน้าหรือแขนมีลักษณะที่สั้น มีหน้าที่ใช้จับหรือคว้าอาหาร ประกอบไปด้วยกรงเล็บและนิ้วมือสามนิ้ว พวกมันมีกะโหลกศีรษะสูงและแคบ มีช่องเปิดขนาดใหญ่ ซึ่งจะอยู่ด้านข้างของดวงตา จมูกแหลมและรูจมูกสามารถขยายใหญ่ได้

ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีฟันทั้งหมด 2 ประเภท ที่มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยาเรียกฟันเหล่านี้ว่า เฮเทอโรดอนต์ ฟันแต่ละซี่จะอยู่ข้างใน และจะแยกออกจากกัน ส่วนขากรรไกรด้านหลัง จะประกอบไปด้วยฟันที่โค้งงอเข้าด้านใน และมีขอบหยัก ทำให้ฟันมีลักษณะคล้ายกับใบเลื่อยนั่นเอง

มีการจำแนกประเภทของไดโนเสาร์ชนิดนี้อย่างไร?

สำหรับการจำแนกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ เนื่องจากมันมีฟันที่มีลักษณะพิเศษ นอกจากจะทำให้มันกินได้ทั้งเนื้อและพืชแล้ว ยังมีการวิวัฒนาการนิ้วมือ จากสามนิ้วเป็นห้านิ้ว ทำให้มีการเสนอข้อมูลไว้ว่า อีโอแรปเตอร์เป็นสายพันธุ์ที่เก่าแก่กว่า ฟอสซิล เฮอร์เรราซอรัส เชื่อกันว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ จะพบเจอได้เพียงบางส่วนของมาดากัสการ์เท่านั้น

เตาริโคซอรัสอาจมีขนาดใหญ่กว่าอีโอแรปเตอร์ จึงคาดเดาได้ว่า ไดโนเสาร์กลุ่มนี้มีการวิวัฒนาการในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สเตาริโคซอรัสอาจดูเหมือนมีจุดเด่นหลายๆ ด้าน นอกจากจะเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนปกคลุมทั่วทั้งตัวแล้ว ยังมีพฤติกรรมการกินที่คล้ายกับอีโอแรปเตอร์ ผู้วิจัยตั้งคำถามไว้ว่า อีโอแรปเตอร์อาจเป็นบรรพบุรุษ ของไดโนเสาร์ประเภทนี้

สำหรับข้อมูลความเกี่ยวข้องทางชีววิทยาโบราณ เชื่อกันว่า Eoraptor มีฟันที่คล้ายกับ Buriolestes ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์กินเนื้อที่วิ่งได้เร็ว และสามารถใช้มือในการจับเหยื่อ ส่วนใหญ่วิธีการล่าของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ จะได้กรงเล็บและฟันอันแหลมคม ฉีกเนื้อของเหยื่อออกเป็นชิ้นๆ ซึ่งแตกต่างไปจากไดโนเสาร์นักล่าในยุคหลัง [2]

การค้นพบฟอสซิลอีโอแรปเตอร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่?

อีโอแรปเตอร์ กินอะไร

ประวัติการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี 1991 พบโดยนักบรรพชีวินวิทยา ริคาร์โด้ มาร์ติเนซ (Ricardo Martínez) จากมหาวิทยาลัยซานฮวน ตัวอย่างฟอสซิลที่ถูกขุดพบนั้น มาจากชั้นหินแป้งโคลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มกิน Cancha de Bochas ตัวอย่างฟอสซิลชิ้นแรกนี้ ถูกค้นพบในประเทศอาร์เจนตินา

สำหรับฟอสซิลชิ้นแรกที่ถูกขุดพบ ทำให้รู้ในช่วงเวลาที่พวกมันอาศัยอยู่ และถูกทิ้งไว้ในช่วงยุคไทรแอสซิก ประมาณ 235-228 ล้านปีก่อน พวกมันใช้เวลาเกือบ 12 เดือนในการรวบรวมโฮโลไทป์ จากนั้นได้ส่งตัวอย่างฟอสซิล ไปยังพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟิลด์ เพื่อเตรียมจัดแสดง ให้ผู้คนได้เข้ามารับชมฟอสซิลจากยุคดึกดำบรรพ์ ก่อนที่จะส่งกลับคืน

สำหรับการตั้งชื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากการตั้งชื่อของ พอล คัลลิสตัส เซเรโน (Paul Callistus Sereno) ในปี 1993 โดยชื่อนี้มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “รุ่งอรุณ” หรือ “ผู้ปล้นสะดม” โดยอ้างอิงมาจากลักษณะทางสัณฐาน ที่คาดการณ์ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นสัตว์ที่กินเนื้อ และมักจะใช้มือเพื่อคว้าจับเหยื่อนั่นเอง

รายชื่อไดโนเสาร์ที่มีความใกล้ชิดอีโอแรปเตอร์

  • อีโอโดรเมอัส : ไดโนเสาร์จากกลุ่มเทอโรพอด อาศัยอยู่ในช่วงยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ปัจจุบันคือแถบประเทศอาร์เจนตินา
  • เดมอนอซอรัส : ไดโนเสาร์เทอโรพอดยุคเก่าแก่ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พวกมันเคยอาศัยอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ปัจจุบันคือรัฐนิวเม็กซิโก มีการพบซากดึกดำบรรพ์เพียงแค่กะโหลกศีรษะ ที่มาจากชั้นหิน Chinle
  • ทาวา : ไดโนเสาร์จากกลุ่มเทอโรพอดดึกดำบรรพ์ ที่มีการค้นพบสายพันธุ์เดียวเท่านั้น ในเหมืองหิน Hayden ที่ Ghost Ranch รัฐนิวเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา
  • เซราโตซอเรีย : เป็นสมาชิกของไดโนเสาร์เทอโรพอด และคาดว่าพวกมันเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ Ceratosaurus ที่เก่าแก่มากที่สุด เท่าที่มีการรู้จัก ย้อนกลับไปช่วงต้นยุคจูราสสิก เมื่อประมาณ 199 ล้านปีก่อน

ที่มา: Classification [3]

อีโอแรปเตอร์มีถิ่นอาศัยตามธรรมชาติแบบใด?

สำหรับไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาศัยอยู่บนโลกที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน พวกมันสามารถดำรงชีวิต และเจริญเติบโตได้ดี ในช่วงเวลาของยุคไทรแอกสซิกตอนปลาย และถือเป็นช่วงที่โลกยังคงฟื้นตัว จากการเกิดเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ทำให้สภาพอากาศในช่วงเวลานั้น มีลักษณะที่อบอุ่น และขั้วโลกยังไม่มีน้ำแข็งปกคลุม ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมไปด้วยทวีปแพนเจีย

สภาพแวดล้อมที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่นั้น จะเป็นพื้นที่ที่มีป่าปกคลุม และผสมกับพื้นที่โล่งกว้าง พืชพรรณส่วนใหญ่ที่เจริญเติบโต ได้แก่ เฟิร์น ต้นสนยุคแรกๆ ทำให้เป็นแหล่งอาหารที่มีความหลากหลาย สำหรับไดโนเสาร์กินพืช ความคล่องตัวและความเร็วในการเคลื่อนไหว ทำให้อีโอแรปเตอร์ออกล่าเหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และเนื่องจากพวกมันมีขนาดร่างกายค่อนข้างเล็ก มีแนวโน้มว่าจะออกล่าเหยื่อ หรือต่อสู้กับศัตรูเป็นกลุ่มใหญ่ พวกมันอาศัยความเร็วในการเคลื่อนไหว เพื่อใช้โจมตี หรือใช้หลบหนีนักล่าที่ใหญ่กว่านั่นเอง และในทางกลับกัน พวกมันมีความสามารถในการกินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ทำให้มันสามารถหาอาหารได้อย่างหลากหลาย ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

สรุป อีโอแรปเตอร์กินอะไร

โดยรวมแล้ว ผลจากการสำรวจฟอสซิลที่มีการค้นพบ โดยเฉพาะฟันที่มีเอกลักษณ์ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้ข้อสรุปจากการศึกษาฟันของพวกมัน และพบว่าอีโอแรปเตอร์กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และพืช อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะร่างกายที่เล็กนี้ ทำให้มันเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้พวกมันสามารถหลบหนีนักล่าที่ใหญ่กว่าได้

อีโอแรปเตอร์คือไดโนเสาร์ตัวแรกของโลกหรือเปล่า?

หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล จนนำไปสู่การศึกษาฟอสซิลตัวอย่าง ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าอีโอแรปเตอร์จะไม่ใช่ไดโนเสาร์ตัวแรกของโลก แต่นักบรรพชีวินวิทยา ได้ทำการจัดประเภทของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ให้เป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด เท่าที่มีการขุดพบ

อีโอแรปเตอร์วิ่งได้เร็วแค่ไหน?

สำหรับไดโนเสาร์ขนาดเล็กสายพันธุ์นี้ ที่มีความสามารถในการกินเนื้อสัตว์และพืช ด้วยลักษณะร่างกายที่เล็กมาก แถมกระดูกยังเป็นโพรง ทำให้มันมีร่างกายที่เบา ประกอบไปด้วยขาหลังที่ยาว ทำให้มันใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหว ประมาณ 25 ไมล์ต่อชั่วโมง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง