
สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ สิ่งมีชีวิตก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิด
- Chono
- 53 views
สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ สิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อประมาณหลายร้อยล้านปีก่อนคริสตกาล หรือก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีชื่อเสียง และมีการค้นพบฟอสซิล นั่นก็คือไดโนเสาร์ สัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีลักษณะร่างกายที่โดดเด่น และมีข้อมูลที่น่าสนใจมากที่สุด ดังหัวข้อต่อไปนี้
สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ (Dinosaur) สัตว์เลื้อยคลานที่ปรากฏตัวในยุคไทรแอสสิก ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 243-233 ล้านปีก่อน ถึงแม้ว่าจะมีช่วงเวลาที่ถือกำเนิดอย่างชัดเจน รวมไปถึงช่วงเวลาของการวิวัฒนาการ กลายเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียง เกี่ยวกับการวิวัฒนาการไดโนเสาร์ ที่กลายเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
ซึ่งบางสายพันธุ์ใช้ชีวิตบนบก และบางสายพันธุ์ใช้ชีวิตในน้ำ แต่ส่วนใหญ่สิ่งมีชีวิตบนบก จะมีอำนาจเหนือกว่า หลังจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ในยุคไทรแอสสิก ไปจนถึงยุคจูราสสิก เมื่อประมาณ 201 ล้านปีที่ผ่านมานั้น ยังคงเหลือร่องรอยการพบเห็น และยังพบสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องในยุคปัจจุบัน ซึ่งนกถือเป็นไดโนเสาร์ที่มีขน เป็นสายพันธุ์เดียวที่รอดจากยุคครีเทเชียส
ไดโนเสาร์ที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลก ปัจจุบันมีการค้นพบหลากหลายชนิด หลากหลายกลุ่ม ซึ่งหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ และ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช ซึ่งทางสัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาโบราณ มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์มากกว่า 11,000 สายพันธุ์ และมีฟอสซิลที่มีสกุลแตกต่างกันมากกว่า 900 สกุล
สำหรับฟอสซิลของไดโนเสาร์ ที่เป็นที่รู้จักกันมานานนับพันปี ถึงแม้ว่าธรรมชาติจะไม่มีข้อมูลรองรับ แต่ชาวจีนถือว่าฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นกระดูกของมังกร และได้มีการเขียนบันทึกไว้ เช่น Huayang Guo Zhi ที่เขียนขึ้นโดยนักภูมิศาสตร์ชาวจีน Chang Qu เขาเขียนขึ้นมาในช่วงราชวงศ์จิ้น ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการพบกระดูกของมังกร ในมณฑลเสฉวน
ต่อมาการอธิบายฟอสซิลไดโนเสาร์ยุคแรกๆ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ในประเทศอังกฤษ เป็นกระดูกไดโนเสาร์สายพันธุ์อมกาโลซอรัส ซึ่งถูกขุดพบจากเหมืองหิน ในหมู่บ้านเล็กๆ คอร์นเวลล์ ชิ้นส่วนฟอสซิลดังกล่าว ถูกส่งไปให้นักธรรมชาติวิทยาโรเบิร์ต พล็อต จนนำไปสู่การตีพิมพ์ลงในหนังสือ he Natural History of Oxford-shire (1677)
รายละเอียดที่เขาได้เขียนลงไปในหนังสือเล่มนี้ ได้ระบุไว้ว่า ซากฟอสซิลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกต้นขาของสัตว์ขนาดใหญ่ และในช่วงระหว่างปี 1815-1824 บาทหลวงวิลเลียม บัคลันด์ ได้รวบรวมฟอสซิลของเมกาโลซอรัสเพิ่มเติม และได้กลายเป็นคนแรก ที่ได้บรรยายเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และพบว่ามันไม่ใส่สัตว์ปีก [1]
สำหรับฟอสซิลของ สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะไดโนเสาร์ ซึ่งในแถบทวีปเอเชีย หรือในประเทศไทยนั้น ก็มีข้อมูลการค้นพบฟอสซิล อ้างอิงข้อมูลจากคณะสำรวจโบราณวิทยาไทย-ฝรั่งเศส ได้ค้นพบซากฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 209 ล้านปีก่อน ส่วนมากจะพบในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และจังหวัดชัยภูมิ มีตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์ดังต่อไปนี้
ที่มา: การค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย [2]
หลังจากที่คุณได้ดูรายละเอียด เกี่ยวกับประวัติการค้นพบไดโนเสาร์ตั้งแต่ยุคแรก ซึ่งถือเป็นสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่มนุษย์สามารถขุดเจอฟอสซิล จนนำไปสู่การศึกษาทางบรรพชีวินวิทยา พบว่ามีไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ และไดโนเสาร์ที่กินพืชเป็นอาหาร มีตัวอย่างไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ดังข้อมูลต่อไปนี้
ไดโนเสาร์นักล่า เทอโรพอด (Theropod) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ มีสะโพกคล้ายกิ้งก่า ส่วนใหญ่ไดโนเสาร์กลุ่มนี้จะเดินด้วย 2 ขาหลังที่แข็งแรงของพวกมัน ส่วนขาหน้าจะมีลักษณะที่สั้น สำหรับการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะพบได้ทุกทวีป แต่ยกเว้นแอนตาร์กติกา [3] มีตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์เทอโรพอด ดังนี้
สัตว์ยุคดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะไดโนเสาร์ หนึ่งในสิ่งมีชีวิตจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีการแบ่งแยกประเภทมากกว่า 11,000 สายพันธุ์ และด้วยลักษณะร่างกายที่โดดเด่น ความแปลกประหลาดเหล่านี้ ทำให้มันมีบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม โดยเฉพาะการมีบทบาทในภาพยนตร์ และสารคดีที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์
หลังจากที่มีการขุดเจอฟอสซิล และได้ทำการศึกษาในด้านกายวิภาคของไทรันโนซอรัส ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดเดาความเร็วในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเมื่อพวกมันออกวิ่งด้วยความเร็ว จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 20 ไมล์ต่อชั่วโมง ไม่ได้วิ่งเร็วเหมือนที่ปรากฏในภาพยนตร์ต่างๆ
นอกจากไดโนเสาร์ที่เป็นสัตว์บกแล้ว สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำยุคแรก เกิดขึ้นในยุคพาเลโอโซอิก (Paleozoic) เมื่อประมาณ 545-490 ล้านปีก่อน เป็นยุคที่มีการก่อตัวของแบคทีเรีย รวมถึงสาหร่ายสีเขียว ทำให้มีสิ่งมีชีวิตในน้ำถือกำเนิดขึ้นมา ได้แก่ หอยสองฝา และหอยทาก