
สถานที่พบ ซูโคไมมัส สัตว์ดึกดำบรรพ์คล้ายจระเข้
- Chono
- 91 views
สถานที่พบ ซูโคไมมัส สายพันธุ์ที่มนุษย์รู้จัก ถูกพบครั้งแรกในบริเวณทะเลทราย ทางตอนใต้ของซาฮารา มันเป็นสัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย มีพฤติกรรมและลักษณะคล้ายจระเข้ ซึ่งอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 125-112 ล้านปีก่อน เราจะพาไปดูประวัติศาสตร์การค้นพบฟอสซิล รวมถึงอธิบายลักษณะทางกายวิภาค
สถานที่พบ ซูโคไมมัส หรือประวัติศาสตร์การค้นพบฟอสซิล เริ่มต้นขึ้นในปี 1997 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน พอล คัลลิสตัส เซเรโน (Paul Callistus Sereno) พร้อมด้วยทีมงานของเขา ได้ขุดพบฟอสซิลในชั้นหินอุกกาบาต (Gadoufaoua) เป็นฟอสซิล ที่บ่งบอกถึงเทอโรพอดขนาดใหญ่ ในประเทศไนเจอร์
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี 1997 มีการค้นพบกรงเล็บนิ้วหัวแม่มือขนาดใหญ่ จนนำไปสู่การตั้งชื่อ และการอธิบายชนิดสายพันธุ์ ซึ่งได้ชื่อสามัญว่า Suchomimus หมายถึง จระเข้เลียนแบบ โดยมาจากภาษากรีกโบราณ โฮโลไทป์ที่พบในชั้นหินเทกามา ประกอบไปด้วยโครงกระดูกบางส่วน แต่ไม่ปรากฏกะโหลกศีรษะ
ในปี 2004 ฮัตต์และนิวเบอร์รี่ ได้สนับสนุนคำพ้องความหมาย โดยอ้างอิงจากกระดูกสันหลัง ของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดขนาดใหญ่ ที่ได้มาจากเกาะ Isle of Wight พวกเขาคิดว่ามันเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับ Baryonyx แต่ก็มีการถกเถียงว่าซูโคไมมัส อาจมีความใกล้ชิดกับไดโนเสาร์สกุล Riparovenator มากกว่า [1]
สำหรับไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดนี้ ที่เคยอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียส และอาศัยอยู่ในแอฟริกา มีการค้นพบฟอสซิลในสถานที่ต่างๆ เช่น ในประเทศไนเจอร์ หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล และมีการศึกษาโครงกระดูกมาเป็นเวลานาน จึงเกิดข้อเท็จจริงดังนี้
ที่มา: Quick facts about Suchomimus [2]
แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ในช่วงยุคครีเทเชียส โดยบริเวณหรือสถานที่ดังกล่าว มีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น และไม่มีน้ำแข็ง พวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณแม่น้ำ และทะเลสาบขนาดใหญ่ เพราะจะได้จับปลากินเป็นอาหาร ปากของมันมีลักษณะยาวและแคบ ฟันรูปกรวยแหลมคม เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรูปแบบนี้
พวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์ชนิดอื่น นอกจากนี้ ยังมีเทอโรซอร์ จระเข้ ปลา เต่า และสัตว์ประเภทหอยอีกมากมาย ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ปัจจุบันคือประเทศไนเจอร์ ทวีปแอฟริกา โดยถูกพบในชั้นหินตะกอน ถูกตีความว่าเป็นทางแม่น้ำไหลผ่านขนาดใหญ่
จุดเด่นที่น่าสนใจของไดโนเสาร์ชนิดนี้
รูปร่างที่แปลกประหลาดของมัน ที่ดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกับจระเข้ และเป็นแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อ กะโหลกศีรษะขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 1.2 เมตร รวมถึงปากที่ยาวและแคบ ขากรรไกรอันทรงพลัง ประกอบไปด้วยฟันแหลมคม ซึ่งเรียงติดกันมากกว่า 100 ซี่ ฟันขนาดใหญ่จะอยู่ในส่วนที่ยื่นออกมา
ขนาดร่างกายเมื่อเทียบกับไทรันโนซอรัส หลังจากที่มีการค้นพบ ฟอสซิล ทีเร็กซ์ พวกมันมีความยาวประมาณ 11 เมตร และมีความสูงประมาณ 3.6 เมตร เมื่อวัดจากสะโพก ซึ่งทำให้นักบรรพชีวินวิทยา มีข้อเสนอว่า หากมนุษย์ยืนเทียบกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะมีความสูงเพียงแค่ระดับหัวเข่าของมันเท่านั้น
ลักษณะพิเศษอีกหนึ่งอย่าง ก็คือสันนูนที่คล้ายใบเรือ ที่พาดไปตามแนวกระดูกสันหลัง ใบเรือมีลักษณะบางและสูง โดยมีความสูงประมาณ 0.6 เมตร มีการตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับใบเรือ อาจมีประโยชน์ในการแสดงพฤติกรรมดึงดูดทางเพศ หรือแสดงออกความเป็นผู้นำ ใบเรือนี้จะยาวไปถึงปลายหางของมัน [3]
จากการศึกษาข้อมูลในปี 2021 มีการประเมินแรงกัดของมัน ได้ประมาณ 4,037 นิวตัน และงานวิจัยในปี 2022 ระบุว่าสายพันธุ์นี้เกี่ยวข้องกับสไปโนซอรัส ซึ่งมีลักษณะที่สันนิษฐานว่า พวกมันเหมาะกับการใช้ชีวิตอยู่บนบกมากกว่า จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่าไดโนเสาร์ตระกูล Spinosauridae มีสมองและกะโหลกศีรษะที่คล้ายกัน
ผลการวิจัยที่ที่บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดเหล่านี้ มีพฤติกรรม หรือสัญชาตญาณที่คล้ายกับเทอโรพอดทั่วไป โดยเฉพาะเมกาลิซาอูโรดชนิดอื่น ในแง่ของโครงสร้างสมอง นิสัยการกิน และพฤติกรรม โดยนักศึกษาปริญญาเอก คริส บาร์เกอร์ กล่าวไว้ว่า ยังไม่มีหลักฐานวิถีชีวิตกึ่งน้ำอย่างเห็นได้ชัด
ที่มา: In popular culture [4]
หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล ในพื้นที่ทะเลทรายเทเนเร ประกอบไปด้วยที่ราบกว้างใหญ่ ทอดยาวไปจนถึงทางตะวันตก ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ด้วยลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นของมัน ทำให้มีบทบาทในสื่อวัฒนธรรมสมัยนิยม ปรากฏตัวในภาพยนตร์ สารคดี และวิดีโอเกมชื่อดังมากมาย
สำหรับไดโนเสาร์ตระกูล Spinosauridae ที่มีพฤติกรรมว่ายน้ำได้ โดยไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ จะอาศัยอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ และลักษณะที่เด่นของสันนูนบนหลังของมัน ทำให้มันมีความสามารถในการว่ายน้ำได้ดี
สัตว์ในยุคปัจจุบันที่มีความดุร้าย อย่างเช่น ฮิปโปโปเตมัส ที่สามารถเอาชนะได้ทุกอย่าง เนื่องจากมันมีน้ำหนัก 5.4 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับช้าง แต่ซูโคไมมัสมีพละกำลังสูง สามารถต่อสู้ได้อย่างดุเดือด จนในท้ายที่สุด มันก็เอาชนะ และกินซากฮิปโปโปเตมัสเป็นอาหาร