
ลักษณะ อิซาโนซอรัส และประวัติการค้นพบในไทย
- Chono
- 34 views
ลักษณะ อิซาโนซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีการค้นพบฟอสซิลในประเทศไทย พวกมันถือเป็นกลุ่มซอโรพอดขนาดใหญ่ ซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 210 ล้านปีที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดเนื้อหาบทความบทนี้ เราจะพาไปดูลักษณะทางกายภาพ และประวัติการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก มีข้อมูลดังหัวข้อต่อไปนี้
สำหรับ ลักษณะ อิซาโนซอรัส หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ข้อมูลจากการศึกษาฟอสซิล โดยเป็นตัวอย่างกระดูกเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น ที่มีการค้นพบ ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังส่วนหาง 6 ชิ้น กระดูกขากรรไกรล่าง 2 ชิ้น และกระดูกต้นขาด้านซ้าย
ซึ่งจากการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ข้างต้น พบว่าพวกมันอาจมีความยาวประมาณ 6.5 เมตร (21 ฟุต) กระดูกต้นขาของพวกมัน มีความยาว 76 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม พบว่าส่วนโค้งของเส้นประสาทกระดูกสันหลัง ถูกแยกออกจากส่วนกลางของกระดูกสันหลัง ซึ่งบ่งชี้ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ ไม่ได้เชื่อมติดกัน จึงมีการคาดเดาไว้ว่า ฟอสซิลข้างต้น อาจเป็นของไดโนเสาร์วัยเด็ก
ลักษณะที่สำคัญเพิ่มเติม สามารถพบได้ในกระดูกสันหลัง และกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งมีลักษณะเป็นกระดูกอ่อน โดยสร้างข้อต่อแบบลูกกลม และมีส่วนเว้าของกระดูกสันหลัง แต่ในทางกลับกัน กระดูกสันหลังส่วนหาง มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนแบบแอมฟิโคเอลัส เช่นเดียวกับกระดูกสันหลัง ของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอดบางชนิด [1]
สำหรับตัวอย่างโฮโลไทป์ที่ค้นพบ ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 1 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนหลัง 1 ชิ้น และกระดูกสันหลังส่วนหาง 6 ชิ้น และส่วนโค้งเส้นประสาทของกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะกระดูกเชฟรอน 2 ชิ้น ซี่โครงที่แตกหัก แผ่นกระดูกส่วนอกด้านขวา กระดูกสะบักด้านขวา และกระดูกต้นขาซ้าย ที่ขุดพบในปี พ.ศ. 2541
ข้อมูลตามที่นักบรรพชีวินวิทยา เอริค บัฟเฟตต์ พร้อมด้วยคณะสำรวจ กล่าวไว้ในปี 2002 พบว่าตัวอย่างโฮโลไทป์ข้างต้น อาจมีความยาวประมาณ 6.5 เมตร ซึ่งอาจเป็นของไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัย ข้อมูลจากทาง เกร็กกอรี่ พล กล่าวไว้ในปี 2010 บอกว่าพวกมันอาจมีความยาวมากถึง 13-17 เมตร อาจมีน้ำหนักถึง 7 ตัน
ในส่วนของกระดูกขาที่เชื่อมติดกัน ที่ทางบัฟเฟตต์ได้อธิบายเอาไว้ในปี 1995 ว่าเป็นของไดโนเสาร์โพรซอโรพอด หรือไดโนเสาร์กินพืชขนาดมหึมา และโครงกระดูกที่ไม่มีความสมบูรณ์ ที่ถูกพบในบริเวณเดียวกัน อาจเป็นของไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด และอาจเป็นของไดโนเสาร์ Isanosaurus ด้วยเช่นกัน
จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ที่มีการค้นพบ ด้วยขนาดรูปร่าง โดยเฉพาะคอและหางที่ค่อนข้างยาว ทำให้เกิดความสับสนกับไดโนเสาร์ พิซาโนซอรัส เดิมทีพวกมันเป็นออร์นิโทพอดในยุคเดียวกัน แต่อิซาโนซอรัส อาจเป็นซอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช ตัวแรกๆ ที่ปรากฏในบันทึกฟอสซิล เมื่อประมาณ 210 ล้านปีก่อน
แต่เป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง หลังจากที่ค้นพบฟอสซิลในประเทศไทย ที่พบแค่เพียงกระดูกหลายๆ ชิ้น ที่กระจัดกระจาย และมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ แต่ถึงอย่างนั้น โครงกระดูกเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีการวิวัฒนาการ และมีความก้าวหน้ามากที่สุด จากการศึกษาซากฟอสซิล คาดเดาว่าเมื่อพวกมันโตเต็มวัย อาจมีขนาดเทียบเท่ากับ แอนเทโทนิทรัส [2]
สำหรับการค้นพบไดโนเสาร์อิซาโนซอรัส หรืออีสานซอรัส (Isanosaurus) ถูกพบในชั้นหินทรายสีแดง ซึ่งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านโนนถาวร จังหวัดชัยภูมิ ค้นพบครั้งแรกในปี 1998 ประกอบไปด้วยโครงกระดูกที่ถูกกัดเซาะ ต่อมาได้รับการอธิบายโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวฝรั่งเศส และเป็นไดโนเสาร์กินพืชยุคแรกๆ ของประเทศไทย
สำหรับการตั้งชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากภาคอีสานของประเทศไทย และยังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ P. Attavipach เขาเป็นบุคคลที่ช่วยสนับสนุนการวิจัย ทางบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย และยังเป็นอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีของประเทศไทย ซึ่งมีข้อเท็จจริงหลังจากค้นพบฟอสซิล ดังนี้
ที่มา: Phylogeny [3]
การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย ได้สร้างความตื่นเต้น ให้กับการศึกษาทางบรรพชีวินวิทยา ฟอสซิลตัวอย่างที่ถูกค้นพบ ถึงแม้จะมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นของไดโนเสาร์วัยเด็ก แต่ก็ทำให้ได้รู้ว่า พวกมันมีลักษณะอย่างไร มีน้ำหนักและความยาวเท่าไหร่ จนนำไปสู่การศึกษาสายพันธุ์ไดโนเสาร์เครือญาติของพวกมัน
การศึกษาฟอสซิลกระดูกต้นขา ซึ่งอาจเป็นของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบถุงน้ำพอง ที่อยู่ภายในโครงของกระดูก ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่นักวิทยาศาสตร์ จนนำไปสู่การตั้งข้อสงสัย ว่าสิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานของโรคร้าย เป็นเนื้องอกที่คร่าชีวิตของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้
ฟอสซิลที่มีความเก่าแก่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาจไม่ช่วยให้ได้รู้เกี่ยวกับความเร็วในการวิ่ง แต่การศึกษาฟอสซิลของไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกัน นั่นก็คือไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ซึ่งช่วยประมาณความเร็วในการเคลื่อนไหวของพวกมัน คาดว่าไม่เกิน 7.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่สามารถวิ่งได้เร็วได้