
รูปร่าง ไทรเซอราทอปส์ ไดโนเสาร์สามเขาที่มีชื่อเสียง
- Chono
- 65 views
รูปร่าง ไทรเซอราทอปส์ หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีลักษณะเด่นตรงกะโหลกศีรษะ ซึ่งประกอบไปด้วยปากที่เป็นจะงอยคล้ายนกแก้ว และมีเขากระดูกงอกขึ้นมาสามเขา ทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง และได้รับบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม ในบทความนี้ เราจะพาไปดูข้อมูลเกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์ตัวนี้
รูปร่าง ไทรเซอราทอปส์ (Triceratops) ไดโนเสาร์กินพืช ที่เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ชื่อของมันมีความหมายว่า “ใบหน้าที่มีสามเขา” เขามีร้อยหยัก และปากที่เป็นจะงอยคล้ายนกแก้ว จึงเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ถึงแม้ว่ามันจะมีชีวิตเมื่อหลายร้อยล้านปี การค้นพบฟอสซิล ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ระบุลักษณะร่างกายของมันได้อย่างชัดเจน
การค้นพบฟอสซิลเมื่อปี 2014 นักบรรพชีวินวิทยาได้ค้นพบโครงกระดูก ในบริเวณ Mud Butte Ranch ทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งใกล้กับตัวเมือง Newell รัฐ South Dakota หลังจากที่ค้นพบฟอสซิล ทำให้รู้ว่าพวกมันมีขนาดความยาวร่างกาย ประมาณ 7.15 เมตร มีความสูงซึ่งวัดจากสะโพก ประมาณ 2.7 เมตร
มันมีกะโหลกศีรษะยาวถึงปลายจมูก 1.55 เมตร ซึ่งมีความยาวกว่าไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากโครงกระดูกที่มีสภาพสมบูรณ์นั้นหายาก ดังนั้น กะโหลกศีรษะจึงเป็นส่วนที่สำคัญ ซึ่งมักจะใช้ในการกำหนดขนาดของร่างกาย และการค้นพบฟอสซิลสายพันธุ์ horridus ถือเป็นฟอสซิลที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีการขุดพบ [1]
สำหรับอาหารของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ส่วนใหญ่พวกมันจะกินพืชเป็นอาหารหลัก พืชที่พวกมันชอบกิน ได้แก่ เฟิร์น ปาล์ม และพืชชนิดอื่นๆ โดยพวกมันจะใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหว สำหรับหาแหล่งอาหารในพื้นที่ต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกมันมีพฤติกรรมการกิน ซึ่งกินอาหารหลายร้อยปอนด์ภายในหนึ่งวัน
เนื่องจากหัวของมันอยู่ต่ำ และมีฟันแหลมคม ไดโนเสาร์ชนิดนี้จึงกินพืชที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน และมันยังใช้ร่างกายที่แข็งแรง พร้อมกับเขาที่โดดเด่น ในการโค่นล้มต้นไม้ เพื่อกินอาหารที่อยู่สูง ในส่วนของพฤติกรรมการดำรงชีวิต ยังมีปรากฏข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับการดำรงชีวิตแบบสังคม หรือใช้ชีวิตอย่างสันโดษ
ตามการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ ดำรงชีวิตด้วยการกินพืชเป็นอาหาร พวกมันมักจะชื่นชอบพื้นที่แห้งแล้ง หรือป่าที่อุดมไปด้วยพืชพรรณหลากหลายชนิด สำหรับภูมิประเทศในช่วงเวลาที่พวกมันอาศัยอยู่ จะมีภูมิภาคที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน ฟอสซิลบางส่วนถูกพบในอเมริกา และถูกพบในประเทศแคนาดาอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่า พวกมันมีความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ ระหว่างสายพันธุ์ Horridus และ Prorsus ซึ่งเป็นไดโนเสาร์เครือญาติสนิท แต่มนุษย์อาจไม่เคยทราบมาก่อน พวกมันมีจุดเด่นที่คล้ายกันหลายจุด โดยเฉพาะเขาที่งอกขึ้นมาจากจมูก และเขาด้านบนที่ตั้งตรง 2 เขา นักวิทยาศาสตร์คาดเดาไว้ว่า พวกมันอาจเคยดำรงชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย
ข้อมูลการศึกษาในปี 2014 จากการสำรวจกะโหลกศีรษะกว่า 50 กะโหลก ที่ขุดพบจากชั้นหิน Hell Creek พบว่ากะโหลกของสายพันธุ์ Triceratops horridus ถูกพบแค่ในชั้นหินด้านล่างเท่านั้น แต่ในขณะที่อีกหนึ่งสายพันธุ์ พบเฉพาะในชั้นหินด้านบน และไดโนเสาร์ทั้งสองสายพันธุ์ ได้วิวัฒนาการกลายเป็นสายพันธุ์อื่น ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 2 ล้านปี
และการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นักบรรพชีวินวิทยาได้บอกไว้ว่า พวกมันดำรงชีวิตเพียงแค่ 66 ล้านปีก่อน และประมาณ 3 ล้านปีหลัง ก็เกิดเหตุการณ์การพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งพุ่งชนด้วยความเร็ว 7.5 ไมล์ พุ่งชนคาบสมุทรยูคาทาน ในประเทศเม็กซิโก เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปมากกว่า 3 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด [2]
สำหรับการค้นพบฟอสซิลชิ้นแรก เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1887 โดยเป็นการค้นพบฟอสซิลเขา 1 คู่ ที่ติดอยู่กับกะโหลกศีรษะ พบใกล้กับเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ตัวอย่างฟอสซิลนี้ถูกส่งไปให้กับ โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช (Othniel Charles Marsh) ในตอนแรก เขาคิดว่าฟอสซิลนี้เป็นของควายป่า ที่มีขนาดและรูปร่างแปลกประหลาด
โฮโลไทป์ที่ได้รับการระบุ ได้แก่ YPM 1820 ถูกเก็บรวบรวมจากชั้นหินแลนซ์ พบโดยนักสะสมฟอสซิล จอห์น เบลล์ แฮตเชอร์ (John Bell Hatcher) เขากล่าวไว้ว่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจ ที่เห็นกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่ มีเขางอกออกมา จนทำให้นักบรรพชีวินวิทยา มาร์ช ได้เปลี่ยนแนวคิด และตั้งชื่อใหม่ให้กับพวกมัน
หลังจากที่ได้รับการอธิบายในปี 1889-1891 นักบรรพชีวินวิทยา แฮทเชอร์ (Hatcher) ได้รวบรวมกะโหลกศีรษะของไดโนเสาร์ชนิดนี้เพิ่มเติม 31 ชิ้น และเมื่อเวลาผ่านไป ความคิดเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะที่แตกต่างกัน อาจชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ หรือหากคุณต้องการดูข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์กินพืช สามารถคลิกเข้าไปดูได้ที่ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช
ที่มา: In The Media [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่นักบรรพชีวินวิทยา ได้ทำการค้นพบฟอสซิลของพวกมัน ทำให้สามารถระบุได้ว่า พวกมันมีรูปร่างอย่างไร มีขนาดร่างกายเท่าไหร่ และที่สำคัญ ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีจุดเด่นคือเขาทั้งสามชิ้น ที่งอกขึ้นมาจากกะโหลกศีรษะ ทำให้มันมีบทบาทในสื่อวัฒนธรรมสมัยนิยมหลายๆ ช่องทาง
ไดโนเสาร์ไทรเซอราทอปส์ ที่มีจุดเด่นคือเขาที่งอกออกมาจากกะโหลกศีรษะ อาจมีหน้าที่สำหรับระบุสายพันธุ์ หรือใช้สำหรับหาคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์บางท่าน เชื่อว่าเขาเหล่านี้ อาจมีไว้สำหรับต่อสู้ หรือปกป้องตัวมันจากไดโนเสาร์นักล่า
สำหรับไดโนเสาร์กินพืชสามเขาชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดเดาความเร็วในการวิ่งของพวกมัน โดยเทียบกับไดโนเสาร์พาราซอโรโลฟัส ซึ่งมีความเร็วในการวิ่งอยู่ที่ 25 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ไทรเซอราทอปส์จะมีความเร็วประมาณ 20 ไมล์ต่อชั่วโมงเท่านั้น