
รูปร่าง ซาร์โคซอรัส กิ้งก่ากินเนื้อจากประเทศอังกฤษ
- Chono
- 49 views
รูปร่าง ซาร์โคซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่า จากกลุ่มเทอโรพอด ปัจจุบันมีการค้นพบที่อยู่อาศัย ในประเทศอังกฤษ และอาจเคยอาศัยอยู่ในไอร์แลนด์ สกอตแลนด์ ย้อนกลับไปในช่วง ยุคเฮตตังเจียน-ซิเนมู ของยุคจูราสสิกตอนต้น เมื่อประมาณ 199-196 ล้านปีก่อน นักบรรพชีวินวิทยาให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง
สำหรับ รูปร่าง ซาร์โคซอรัส พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อประเภทหนึ่ง ที่มีความยาวประมาณ 3.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนต้น เมื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้เจริญเติบโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 6 เมตร จากการสำรวจฟอสซิล ที่ถูกพบในเทือกเขาไลแอสตอนล่างของอังกฤษ มีการค้นพบกระดูกต้นขา ที่มีความยาวถึง 31.5 เซนติเมตร
สำหรับสายพันธุ์ Sarcosaurus andrewsi ที่ได้รับการตั้งชื่อจากนักบรรพชีวินวิทยา ฟรีดริช ฟอน ฮูเอเน (Friedrich von Huene) ในปี 1932 ด้วยกันอ้างอิงจากกระดูกหน้าแข้ง มีขนาด 445 มิลลิเมตร ได้รับการอธิบายโดย อาเธอร์ สมิธ วู้ดเวิร์ด (Arthur Smith Woodward) แต่เกิดการสับสนในสายพันธุ์ จึงได้มีการจัดประเภทใหม่ขึ้นมาว่า Megalosaurus andrewsi
จากการสำรวจฟอสซิลเพิ่มเติม นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีขนาดร่างกายค่อนข้างเล็ก จากตัวอย่างโฮโลไทป์ที่มีการขุดพบ มีความยาวประมาณ 10-12 ฟุต มีความยาวประมาณ 3.5-4 ฟุต โดยมีน้ำหนักของร่างกายโดยรวมประมาณ 65 ปอนด์ ต่อมาในปี 1932 ฟอน ฮูเอเน ได้ส่งฟอสซิลตัวอย่างไปให้พิพิธภัณฑ์วาร์วิก และมีชื่อสามัญว่า Liassaurus [1]
ซากดึกดำบรรพ์ส่วนหนึ่งที่มีการค้นพบ ถูกพบในบริเวณโลเวอร์ไลอัส ในประเทศอังกฤษ สำหรับสายพันธุ์ Sarcosaurus woodi ได้รับการอธิบายรายละเอียดโดย ชาลส์ วิลเลียม แอนดรูส์ นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ในปี 1921 และการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการค้นพบฟอสซิลโครงกระดูกบางส่วน ใกล้กับหมู่บ้านทางตอนเหนือของ Leicestershire
ในระหว่างปี 1980-2000 นักบรรพชีวินวิทยา โรเจอร์ เบิร์น (Roger Byrne) ได้ค้นพบฟอสซิลเพิ่มเติม 3 ชิ้น บริเวณชายหาดในไอร์แลนด์ทางตอนเหนือ ถึงแม้ว่าจะไม่มีรายงานแหล่งที่มาที่ชัดเจน แต่ฟอสซิลตัวอย่างเหล่านี้ บ่งชี้ว่ามาจากชั้นหินไลอัส และมีการค้นพบไดโนเสาร์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ที่ยังไม่ทราบชื่อ
ในปี 2023 การศึกษาตัวอย่างเทอโรพอดบางส่วน ที่ขุดพบจากชั้นหินบรอดฟอร์ดเบด ทางตอนล่างของเกาะสกาย ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ในระดับซีโลฟิซอยด์ และได้มีการจำแนกประเภทขึ้นมาใหม่ ซึ่งรวมอยู่กับไดโนเสาร์ทาจิแรปเตอร์ [2]
สำหรับการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญหน้า กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ช่วงเวลาในยุคจูราสสิกตอนต้น สภาพอากาศและภูมิอากาศ มีลักษณะที่อบอุ่นและชื้น มีพืชพรรณเขียวชอุ่ม ปกคลุมไปทั่วพื้นที่กว้างใหญ่ ทำให้ซาร์โคซอรัสมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยสัตว์กินพืชขนาดเล็กและแมลง
และเนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ นักบรรพชีวินวิทยาจึงเชื่อว่า พวกมันอาจอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร และมักจะออกล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร การเคลื่อนไหวด้วยสองขาหลัง บ่งบอกว่ามันเป็นนักล่าที่มีความกระตือรือร้น ทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยขนาดที่ค่อนข้างเล็ก อาจส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม แม้ว่ามนุษย์จะไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด เกี่ยวกับข้อมูลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ แต่มีความเป็นไปได้ว่า มันเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่โดดเดี่ยว อาศัยการซุ่มเพื่อโจมตีเหยื่อ และอาศัยความเร็วในการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว เพื่อไล่ล่าเหยื่อกินเป็นอาหาร
ในช่วงเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่ ได้มีไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับพวกมัน ได้แก่ เมกาโลซอรัส, แพนทีดราโก และอิกัวโนดอน ทั้งหมดนี้ ต่างมีหน้าที่ และมีส่วนช่วยในการเอาตัวรอด ในสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ แม้บางครั้งพวกมันจะต้องหันหน้าโจมตีกันเองก็ตาม
สำหรับไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่อย่าง เมกาโลซอรัส อาจเป็นนักล่าที่มีศักยภาพ แต่ด้วยความรวดเร็วของซาร์โคซอรัส ทำให้พวกมันหลบหนีจากนักล่าชนิดนี้ได้ดี แต่ในทางกลับกัน ไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกอย่างเช่น อิกัวโนดอน ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม และอาศัยในแหล่งน้ำร่วมกัน
และอีกหนึ่งสายพันธุ์ไดโนเสาร์ แพนทีดราโก อีกหนึ่งสายพันธุ์นักล่าขนาดเล็ก และเล็กกว่าซาร์โคซอรัส ด้วยความแตกต่างทางร่างกายนี้ ทำให้แพนทีดราโกอยู่อันดับล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร และอาจตกเป็นเหยื่อของซาร์โคซอรัส ซึ่งนี้อาจเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน ในช่วงเวลาที่พวกมันอาศัยอยู่
สำหรับไดโนเสาร์ซารโคซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์สัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิก ปัจจุบันอยู่ในทวีปยุโรป ฟอสซิลส่วนใหญ่ถูกพบในประเทศอังกฤษ หลังจากที่มีการค้นพบ และนักวิจัยได้ทำการศึกษาฟอสซิลอย่างละเอียด จึงได้ข้อสรุป และได้ค้นพบข้อเท็จจริงได้ดังนี้
โรเจอร์ เบิร์น เขาเป็นนักสะสมซากดึกดำบรรพ์ ได้ค้นพบฟอสซิล 2 ชิ้นจากชายฝั่งตะวันออก ของมณฑลแอนทริม ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ก็ได้บริจาคฟอสซิลตัวอย่างดังกล่าว ให้กับพิพิธภัณฑ์อัลสเตอร์ ต่อมานักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ และได้ยืนยันว่าซากฟอสซิลทั้ง 2 ชิ้นนี้ มาจากหินยุคจูราสสิกยุคแรก
เดิมทีข้อสันนิษฐานว่าซากฟอสซิลทั้งสองชิ้นนี้ อาจเป็นของสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่ทีมนักบรรพชีวินวิทยา จากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมิธ ในประเทศอังกฤษ นำทีมโดย ดร.ไมค์ ได้ยืนยันว่าฟอสซิลทั้งสอง เป็นของไดโนเสาร์ต่างสายพันธุ์กัน จากการใช้เทคโนโลยีสร้างแบบจำลอง 3 มิติ จึงได้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูง
ฟอสซิลชิ้นแรกเป็นของไดโนเสาร์กินพืช ที่เดินด้วยขาทั้งสี่ข้าง หนึ่งในตระกูลเซลิโดซอรัส (Scelidosaurus) อีกหนึ่งชิ้นเป็นของไดโนเสาร์เทอโรพอด กินเนื้อเป็นอาหาร นั่นก็คือซาร์โคซอรัส (Sarcosaurus) และถึงแม้ว่าจะมีฟอสซิลเพียงแค่สองชิ้น แต่กลับให้ข้อมูลในทางเชิงลึก เกี่ยวกับช่วงเวลาในการวิวัฒนาการ เมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา สามารถศึกษารายละเอียดข้อมูล และทำให้ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะทางกายภาพ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่ แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มนุษย์เราก็ยังค้นพบฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์อยู่ตลอดเวลา
สำหรับการวิวัฒนาการ จนนำไปสู่การสร้างตระกูลไดโนเสาร์เครือญาติ ซึ่งไดโนเสาร์เครือญาติกับซาร์โคซอรัส ได้แก่ ชินเดซอรัส, อีโอโดรเมอัส, ซีโลฟิซอยเดีย, ซูเปย์ซอรัส, โกจิราซอรัส และไดโลโฟซอรัส
นักวิจัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล บอกว่าพวกมันเป็นเทอโรพอดจากยุคจูราสสิก ที่มีความเก่าแก่มากที่สุด ให้ข้อมูลล้ำค่าเกี่ยวกับวิวัฒนาการ และความหลากหลายของไดโนเสาร์ในยุคสมัยต่อมา