แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ สล็อต คาสิโน บาคาร่า พร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส สัตว์กินเนื้อนักล่าขนาดใหญ่

ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส

ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์เทอโรพอด หรือไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่มีชีวิตอยู่บนโลกในยุคจูราสสิกตอนต้น นักบรรพชีวินวิทยาได้คาดการณ์ไว้ว่า พวกมันมีชีวิตเมื่อประมาณ 196-188 ล้านปีก่อน ปัจจุบันคือทวีปแอนตาร์กติกา อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเทอโรพอดที่ใหญ่ที่สุด ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิก

  • รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการค้นพบฟอสซิล
  • ข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร ที่อยู่อาศัย และศัตรูตามธรรมชาติ
  • อธิบายลักษณะทางกายภาพ และบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส เริ่มต้นขุดพบตั้งแต่เมื่อใด?

สำหรับการค้นพบ ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส สายพันธุ์ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีจุดเริ่มต้นการค้นพบในช่วงฤดูร้อน ในระหว่างปี 1990-1991 พวกมันเป็นสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการขุดพบบนภูเขาเคิร์กแพทริก และในเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก ในชั้นหินทรายแป้ง พบโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน วิลเลียม รอย แฮมเมอร์

ตัวอย่างฟอสซิลที่มีการขุดพบ ทำให้ได้ทราบอายุ ซึ่งย้อนกลับไปถึงช่วงเลียนส์บาเคียน ของยุคจูราสิกตอนต้น และต่อมาในปี 1991 นักธรณีวิทยาจากโอไฮโอ เดวิด เอลเลียต ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไครโอโลโฟซอรัส เพิ่มเติมจากกลุ่มหิน ที่ใกล้กับธารน้ำแข็ง ซึ่งมีความสูง 13,000 ฟุต และแหล่งค้นพบดังกล่าว อยู่ห่างจากทวีปแอนตาร์กติกา ประมาณ 400 ไมล์

หลังจากการค้นพบฟอสซิล ทางแฮมเมอร์และทีมงานทั้งหมด ก็ได้ค้นพบหินมากกว่า 100 ก้อน ที่มีซากดึกดำบรรพ์ปะปนอยู่ รวมถึงซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ซึ่งมีน้ำหนักโดยรวมเกือบ 2,300 กิโลกรัม และซากฟอสซิลทั้งหมดที่ถูกค้นพบ ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลัง กะโหลกศีรษะ ขากรรไกร สะโพก และข้อเท้า [1]

ข้อเท็จจริงหลังจากค้นพบฟอสซิล

  • มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ 199.3 ล้านปีก่อน จนถึง 182.7 ล้านปีก่อน
  • อาศัยในแหล่งที่อยู่อาศัยบนบก
  • เป็นสัตว์กินเนื้อ
  • ขยายพันธุ์โดยการวางไข่
  • นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น

ไดโนเสาร์ในตระกูลเดียวกัน มีอะไรบ้าง?

  • ซีโลฟิซิดี : หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ พบได้ทั่วไปในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย และมีการกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ
  • ลิเลียนสเติร์นัส : ไดโนเสาร์นีโอเทอโรพอด เคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 210 ล้านปีที่แล้ว ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
  • ซิโนซอรัส : สายพันธุ์ไดโนเสาร์เทอโรพอด ที่มีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิกตอนต้น ฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกพบในชั้นหินลู่เฟิง ในมณฑลยูนนานของจีน
  • โมโนโลโฟซอรัส : พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่เคยอาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนกลาง ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณเขตปกครองตนเองซีนเจียง
  • เมกะโลซอรอยเดีย : เป็นไดโนเสาร์กลุ่มย่อย จากกลุ่มเทอโรพอดเททานูรัน ที่อาศัยอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนกลาง จนถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย พวกมันเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ Allosaurus
  • อัลโลซอรอยเดีย : ไดโนเสาร์นักล่า ที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก เคยมีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิก ไปจนถึงยุคครีเทเชียส
  • ซีลูโรซอเรีย : สายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่า ที่มีความใกล้กับไดโนเสาร์ Cryolophosaurus มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 2020 ที่ดำเนินการโดยนักบรรพชีวินวิทยา 2 ท่าน ได้แก่ อดัม มาร์ช (Adam Marsh) และทิโมธี โรว์ (Timothy Rowe) พบว่าพื้นฐานของไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นนีโอเทอโรพอด และคาดว่ามีความใกล้เคียงกับ Averostra มากกว่า Coelophysoidea [2]

อาหาร ที่อยู่อาศัย และศัตรูตามธรรมชาติ ได้แก่?

ไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ชนิดนี้ ถือเป็นสัตว์ที่กินเนื้ออันดับต้นๆ แห่งยุคเลยก็ว่าได้ โดยพวกมันจะล่าไดโนเสาร์ขนาดเล็ก หรือไดโนเสาร์กลุ่มซอโรพอด ที่อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนต้น ได้แก่ กลาเซียลิซอรัส และอาหารหลักของพวกมัน ส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็ก หรือไดโนเสาร์ที่อ่อนแอกว่าพวกมันนั่นเอง

สำหรับที่อยู่อาศัยของพวกมัน ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 200-180 ล้านปีที่แล้ว พวกมันอาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะภูมิประเทศของทวีปแอนตาร์กติกา ในช่วงเวลานั้น ภูมิประเทศถูกปกคลุมไปด้วยป่าทึบ และมีภูมิภาคอากาศแบบร้อนชื้น ในช่วงเวลานั้น แอนตาร์กติกายังเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแพนเจีย

สำหรับไดโนเสาร์ที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นนักล่าที่ยอดเยี่ยม อันดับต้นๆ ของทวีปแอนตาร์กติกา และมักจะล่าไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ แม้ว่ามันจะเอาชนะไดโนเสาร์หลากหลายชนิด แต่ศัตรูตามธรรมชาติ ก็คือพวกมันนั่นเอง เพราะนอกจากจะต่อสู้เพื่อแย่งชิงอาณาเขตแล้ว ยังต่อสู้กันเอง เพื่อแย่งคู่สำหรับผสมพันธุ์

ลักษณะทางกายภาพ และบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ฟอสซิล ไครโอโลโฟซอรัส

หลังจากที่คุณได้อ่านรายละเอียดข้างต้น ที่ทางผู้เขียนได้นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก ไดโนเสาร์ในตระกูลเดียวกันกับพวกมัน รวมไปถึงอาหารและศัตรูตามธรรมชาติของพวกมัน สำหรับเนื้อหาส่วนถัดไป เราจะพาไปดูลักษณะทางกายภาพ และบทบาทที่ได้รับในวัฒนธรรมสมัยนิยม มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

ไครโอโลโฟซอรัสมีลักษณะทางกายภาพอย่างไร?

ลักษณะเด่นที่สุดของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ก็คือยอดเขาขนาดใหญ่บนศีรษะ เมื่อพวกมันเติบโตเต็มวัย จะมีความสูงประมาณ 21-25 ฟุต มีน้ำหนักของร่างกายโดยรวม 1,000-1,500 ปอนด์ พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ จึงมีกะโหลกศีรษะประมาณ 24 กิโลกรัม รวมไปถึงความยาวของร่างกาย ตั้งแต่หัวไปจนถึงหาง 20-23 ฟุต

จนมาถึงการศึกษาฟอสซิลในยุคปัจจุบัน ไดโนเสาร์กินเนื้อสายพันธุ์นี้ มีกะโหลกศีรษะสูงและแคบ นอกจากนี้ พวกมันยังมีกระดูกสันหลังส่วนคอเพียง 7-8 ชิ้น ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักของกะโหลกศีรษะ ซึ่งแตกต่างไปจากไดโนเสาร์ชนิดอื่น ที่มีกระดูกสันหลังประมาณ 10-12 ชิ้น แถมยังมีฟันแหลมคม ที่สามารถทะลุผิวหนังของเหยื่อได้อย่างยอดเยี่ยม

บทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยมของพวกมัน คือ?

  • ไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ชนิดนี้ ได้ปรากฏตัวในตอนแรกของซีรีส์ Dinosaur Revolution ซึ่งนำเสนอในตอนที่พวกมันผสมพันธุ์ โดยตัวผู้จะมีร่างกายใหญ่กว่าตัวเมีย
  • ไครโอโลโฟซอรัสยังปรากฏในวิดีโอเกมชื่อดัง Primal Carnage และ Primal Carnage: Extinction ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถสุดพิเศษของพวกมัน นั่นก็คือการพ่นพิษใส่ศัตรูนั่นเอง
  • พวกมันปรากฏตัวในวิดีโอเกม Warpath: Jurassic Park ในฐานะไดโนเสาร์หนึ่งใน 6 ตัวที่คุณสามารถปลดล็อกได้
  • Cryolophosaurus ปรากฏตัวใน Mod ของเกมชื่อดังอย่าง Minecraft
  • ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ปรากฏตัวใน DINOSAUR TRAIN ซึ่งเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ผลิตโดยบริษัทจิมเฮนสัน ผ่านช่อง PBS Kids

ที่มา: In the media [3]

สรุป ฟอสซิลไครโอโลโฟซอรัส

โดยรวมแล้ว จากการค้นพบฟอสซิล ในทวีปแอนตาร์กติกา จนนำไปสู่การศึกษาข้อมูลทางบรรพชีวินวิทยา ทำให้นักวิจัยสามารถหาข้อมูลได้ถึงลักษณะทางกายภาพ ลักษณะที่โดดเด่น และไดโนเสาร์เครือญาติในวงศ์ตระกูลเดียวกันกับพวกมัน อีกทั้งลักษณะที่โดดเด่นของพวกมัน ทำให้มนุษย์เขียนบทบาทให้พวกมันในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ไครโอโลโฟซอรัสวิ่งได้ด้วยความเร็วเท่าไหร่?

จากการศึกษาลักษณะทางกายภาพ เช่น โครงกระดูกส่วนขาหลัง ซึ่งมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้นักวิจัยสามารถประเมินความเร็วในการเคลื่อนไหว ซึ่งเมื่อพวกมันออกวิ่งล่าเหยื่อ จะมีความเร็วสูงสุดในการวิ่งไล่ล่า ประมาณ 15-20 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 24-32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ไครโอโลโฟซอรัสมีสมองเล็กจิ๋วจริงหรือไม่?

สำหรับไดโนเสาร์กินเนื้อบางชนิด เช่น ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ หรือทรูดอน ได้วิวัฒนาการก้าวกระโดด จนนำไปสู่การมีระดับสติปัญหาที่สูงกว่า แต่สำหรับไดโนเสาร์ไครโอโลโฟซอรัส ที่มีการกล่าวถึงว่ามันเป็นนักล่าที่โง่เขลา พวกมันมีสมองค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดร่างกายของพวกมัน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง