
ฟอสซิล เฮอร์เรราซอรัส มีการค้นพบตั้งแต่เมื่อใด?
- Chono
- 71 views
ฟอสซิล เฮอร์เรราซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์สัตว์กินเนื้อ ที่เคยอาศัยอยู่บนโลก ซึ่งย้อนกลับไปในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก เมื่อประมาณ 208-230 ล้านปีก่อน จากการสำรวจฟอสซิลของนักบรรพชีวินวิทยา พบว่าพวกมันมีขนาดค่อนข้างเล็ก และยังถูกจัดให้เป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด เราจะพาไปดูรายละเอียดการค้นพบฟอสซิล และข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฟอสซิล เฮอร์เรราซอรัส ที่มีการค้นพบครั้งแรก โดยนักบรรพชีวินวิทยา ออสวัลโด้ เร้ก (Osvaldo Reig) พบในบริเวณที่มีก้อนหินโผล่ใกล้ๆ กับตัวเมืองซานฮวน ประเทศอาร์เจนตินา ในปี 1959 ต่อมาก้อนหินเหล่านี้ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้ค้นพบฟอสซิล ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ที่มีร่างกายขนาดเล็ก อีโอแรปเตอร์
โดยออสวัลโด้เชื่อว่า ซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ Herrerasaurus ตัวอย่างแรกที่มีการค้นพบนั้น มาจากกลุ่มไดโนเสาร์เทอโรพอด หรือไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ แต่ก็กลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน ในเรื่องของการจำแนกประเภท ซึ่งใช้เวลาไปนานกว่า 30 ปี จนมาถึงปี 1970 ก็จำแนกไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นกลุ่ม Prosauropod
ต่อมาการค้นพบกะโหลกศีรษะที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ถูกพบในปี 1988 โดยทีมนักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งนำทีมโดย พอล คัลลิสตัส เซเรโน (Paul Callistus Sereno) พวกเขาได้จำแนกเฮอร์เรราซอรัส ให้เป็นไดโนเสาร์พื้นฐานของซอริสเชียน ก่อนที่จะมีการจำแนก ระหว่างไดโนเสาร์กลุ่มโพรซอโรพอด และเทอโรพอด [1]
ข้อเท็จจริงหลังจากค้นพบฟอสซิล
สำหรับไดโนเสาร์จากยุคโบราณ ที่เคยอาศัยอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย พวกมันถือเป็นไดโนเสาร์ชนิดแรกๆ ที่มีการค้นพบฟอสซิล โดยชื่อของมันหมายถึง “กิ้งก่าเฮอร์เรรา” ได้รับการตั้งชื่อตามเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก พบในปี 1958 มีการค้นพบเพียงสายพันธุ์เดียว ได้แก่ Herrerasaurus ischigualastensis
ข้อมูลจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าพวกมันมีลักษณะโดดเด่นหลายประการ แม้ว่าจะไม่มีกระดูกและสะโพกเหมือนไดโนเสาร์ก็ตาม และถึงแม้โครงสร้างสะโพก จะคล้ายกับไดโนเสาร์ซอริสเชียน แต่การจัดเรียงของกระดูกนั้น คล้ายกับไดโนเสาร์อาร์โคซอร์ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นบรรพบุรุษของพวกมันมากกว่า
เมื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้โตเต็มวัย จะมีความยาวของกะโหลกศีรษะ 56 เซนติเมตร ความยาวของหางทั้งหมด 6 เมตร และมีน้ำหนักโดยรวมประมาณ 350 กิโลกรัม พวกมันมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกมันสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว และขากรรไกรมีความยืดหยุ่น ซึ่งทำให้มันมีลักษณะคล้ายกิ้งก่า [2]
ในช่วงเวลาของยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ซึ่งมีความแตกต่างไปจากยุคปัจจุบันอย่างมาก มีเหตุการณ์หลายๆ อย่างเกิดขึ้น และมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และพื้นที่อบอุ่น มีฝนตกตามฤดูกาล ทำให้พืชพรรณต่างๆ เกิดขึ้นในบริเวณแห่งนี้ โดยเฉพาะป่าเฟิร์นและต้นสน ทำให้เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์
และเนื่องจากไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์กินเนื้อ พวกมันจึงเป็นนักล่าชั้นเยี่ยม ที่ออกล่าสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรกๆ หรือบางครั้งอาจล่าไดโนเสาร์ที่พึ่งฟักออกจากไข่ ด้วยความเร็วและความว่องไวของมัน ทำให้มันสามารถล่าเหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในบริเวณป่าทึบ และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง
ในส่วนของพฤติกรรมทางสังคมของมัน ยังมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจนมากนัก แต่นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า พวกมันอาจล่าเหยื่อเพียงลำพัง โดยอาศัยการมองเห็นที่เฉียบแหลม และประสาทสัมผัสรับกลิ่น เพื่อติดตามเหยื่อที่เข้ามาใกล้ในบริเวณดังกล่าว หางที่ยาว มีหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย ในเวลาที่พวกมันออกล่าเหยื่อ
สำหรับรายละเอียดส่วนนี้ ทางเราจะพาไปดูอาหารของไดโนเสาร์เฮอร์เรราซอรัส ซึ่งจะประกอบไปด้วยสัตว์ขนาดเล็ก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่มีขนาดเล็กและอ่อนแอกว่า หลังจากที่มีการค้นพบฟันอันแหลมคม และรอยหยักที่กลายเป็นฟอสซิล ทำให้นักบรรพชีวินเชื่อว่า พวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหารหลัก
และเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ไดโนเสาร์เทอโรพอดตัวนี้ ปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหาร กลายมาเป็นกินอาหารที่หลากหลาย ข้อมูลของการวิวัฒนาการที่เกิดขึ้น อาจมาจากการเปลี่ยนอาหารการกิน ทำให้ขากรรไกรของพวกมันวิวัฒนาการขึ้น โดยมีข้อต่อชนิดพิเศษ ข้อต่อนี้ทำให้มันกินเนื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น ยืดหยุ่นได้ดีเป็นพิเศษ
สำหรับลักษณะการกินของพวกมัน สามารถเปรียบเทียบกับสัตว์ในยุคปัจจุบัน ได้แก่ นกทุกชนิด หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกสายพันธุ์ สำหรับสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ ที่รายล้อมไปด้วยป่าไม้ หรือใกล้กับแม่น้ำ ปัจจุบันคือทวีปอเมริกาใต้ สภาพแวดล้อมดังกล่าว ทำให้พวกมันกลมกลืน และช่วยให้มันซุ่มรอเหยื่อได้ดี
ในยุคสมัยที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิต ช่วงเวลานั้นมีสัตว์มากมายถือกำเนิด มีสายพันธุ์ไดโนเสาร์มากมาย ที่มีอิทธิพลต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะ Eoraptor หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ขนาดเล็ก พวกมันมีโครงสร้างเบาเหมือนกัน แถมยังอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน อีกทั้งยังมีไดโนเสาร์กินพืช หรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในพื้นที่ในช่วงเวลาดังกล่าว
Staurikosaurus หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน มันมีรูปร่างเพรียวบาง และมีความสามารถในการล่าเหยื่อ โดยอาศัยความเร็วในการเคลื่อนที่ ถึงแม้จะมีขนาดที่เล็กกว่าเฮอร์เรราซอรัส แต่ร่างกายของมัน ถูกสร้างมาเพื่อการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว แถมยังยังมีพฤติกรรมล่าเหยื่อเป็นฝูงอีกด้วย
และท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยนักล่า ก็มีไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิธิสเชียน พวกมันดำรงชีวิตด้วยการหลบเลี่ยงผู้ล่า มันอาศัยความเร็วในการเคลื่อนไหว สำหรับหลบหนีไดโนเสาร์นักล่า อีกหนึ่งสายพันธุ์ไดโนเสาร์เครือญาติ ได้แก่ แซนจูอันซอรัส พวกมันมีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายคลึงกัน ขายาว ฟันแหลม บางครั้งพวกมันอาจแย่งชิงเหยื่อตัวเดียวกัน [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการขุดพบฟอสซิล จนนำไปสู่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์ได้ทราบถึงการมีชีวิต ทราบถึงลักษณะทางกายภาพ รูปร่างที่โดดเด่น ทำให้มันมีบทบาทในวัฒนธรรมสมัยนิยม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทในภาพยนตร์ชื่อดัง หรือบทบาทในวิดีโอเกมชื่อดังอีกหลายๆ เกม
เปรียบเทียบความเร็วของไดโนเสาร์ชนิดนี้ กับไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เฮอร์เรราซอรัสมีความเร็วในการวิ่งอยู่ที่ 55.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนออสโตรแรปเตอร์ จะมีความเร็วในการวิ่งอยู่ที่ 51.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกัลป์ลิมิมัส มีความเร็วในการวิ่งสูงสุดอยู่ที่ 48.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พวกมันเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ เท่าที่มนุษย์รู้จัก ลักษณะทางกายภาพ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างไดโนเสาร์ดั้งเดิม จนวิวัฒนาการกลายเป็นไดโนเสาร์ ที่สามารถกินอาหารได้หลากหลายประเภท และจากการค้นพบฟอสซิลดึกดำบรรพ์ของมัน ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ สามารถออกล่าเหยื่อด้วยการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว