
ฟอสซิล เดมอนอซอรัส เทอโรพอดจากยุคไทรแอสซิก
- Chono
- 24 views
ฟอสซิล เดมอนอซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ จากกลุ่มเทอโรพอดยุคโบราณ ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ปัจจุบันคือพื้นที่ของรัฐนิวเม็กซิโก มีการค้นพบสายพันธุ์เดียวเท่านั้น ที่มาจากชั้นหิน Chinle สำหรับรายละเอียดเนื้อหาบทความนี้ เราจะพาไปดูประวัติการค้นพบ และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพวกมัน
ฟอสซิล เดมอนอซอรัส ที่เป็นที่รู้จักเพียงสายพันธุ์เดียว นั่นก็คือโฮโลไทป์ CM 76821 ซึ่งประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ ขากรรไกร กระดูกสันหลังส่วนคอ และซี่โครงอีกหลายซี่ โดยถูกพบในชั้นหินตะกอน ซึ่งซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ ถูกพบรวมกับไดโนเสาร์สายพันธุ์ ได้แก่ Coelophysis สัตว์นักล่าจากตระกูลเทอโรพอดขนาดเล็ก
พื้นที่ที่มีการขุดเจอฟอสซิล คือบริเวณศูนย์พักผ่อน Ghost Ranch ในรัฐนิวเม็กซิโก ตอนแรกคาดการณ์ว่าไดโนเสาร์เหล่านี้ มาจากยุคโนเรียน หรือยุคเรเชียนตอนปลาย ต่อมาในปี 1980 ซากดึกดำบรรพ์ถูกรวบรวมโดย อี.เอช.โคลเบิร์ต เอเอช โคลเบิร์ต (EH Colbert) นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง และกลายเป็นคอลเล็กชันของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติคาร์เนกี
ชื่อของไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดนี้ Daemonosaurus ได้รับการแต่งตั้งโดย นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน Hans Dieter Sues และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Proceedings of the Royal Society โดยชื่อของมันมาจากภาษากรีกโบราณ ซึ่งมีความหมายว่า “ปีศาจแห่งสัตว์เลื้อยคลาน” นั่นเอง [1]
ข้อเท็จจริงหลังจากขุดพบฟอสซิล
จากการสำรวจฟอสซิลเพียงตัวอย่างชิ้นเดียว ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดเดาสัดส่วน หรือรูปลักษณ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ คาดว่าเมื่อพวกมันโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 5 ฟุต มีน้ำหนักของร่างกายโดยรวมประมาณ 22 กิโลกรัม ส่วนกะโหลกศีรษะของมัน มีความแตกต่างจากเทอโรพอดชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในยุคไทรแอสซิก
พวกมันมีลักษณะปากที่สั้น และมีฟันกรามบนขนาดใหญ่ ฟันจะมีลักษณะที่ยื่นออกมาจากปลายกรามบน-กรามล่าง ทำให้พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิก ซึ่งไม่เหมือนไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ เพราะมีปากที่สั้นผิดปกติ ส่วนเทอโรพอดยุคแรกๆ จะมีลักษณะปากที่ยาว
ตามการรายงานของนักบรรพชีวินวิทยา โดยทั่วไปแล้ว พวกมันถือเป็นเทอโรพอดที่อยู่นอกกลุ่ม Neotheropoda ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวบรวมเทอโรพอดจากยุคไทรแอสซิกชั้นสูง ด้วยตำแหน่งข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว จึงทำให้มันเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ยุคต่อมา ได้แก่ Eoraptor และ Herrerasaurus จากทวีปอเมริกาใต้
สำหรับพฤติกรรมของเทอโรพอดขนาดเล็ก ที่ไม่ใช่นักล่าที่มีความกล้าหาญมากนัก พวกมันอาจซ่อนตัวอยู่ในเงามืดหรือพุ่มไม้ เพื่อคอยหาจังหวะโจมตีเหยื่อ การซ่อนตัวในพุ่มไม้ ทำให้พวกมันสามารถอยู่รอดอย่างปลอดภัย จากสายตาของไดโนเสาร์นักล่าชนิดอื่น ที่มักจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่พวกมันอาศัยอยู่
ด้วยลักษณะดวงตากลมโตของ Daemonosaurus ทำให้มันสามารถหาอาหารในตอนกลางคืนได้ดี อีกทั้งมันยังมีพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกของมัน แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานฟอสซิล และมันอาจเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างกระตือรือร้น และมีความฉลาดกว่าไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันกับพวกมัน
สำหรับความเกี่ยวข้องทางระบบนิเวศ ที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่นั้น ในพื้นที่ Siltstone ของ Chinle Formation แสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโต ของไดโนเสาร์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ พื้นที่นี้เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง และอาจมีฤดูแห้งแล้ง ดังนั้น พืชพรรณต่างๆ ที่เจริญเติบโต ได้แก่ เฟิร์น, ต้นแปะก๊วย, ต้นหางม้า รวมถึงป่าสน
สำหรับที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ Daemonosaurus ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มหาทวีปแพนเจีย ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์อยู่ และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานี้ ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน ที่ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ รวมถึงเอโตซอร์หุ้มเกราะ ซึ่งเป็นสัตว์กินพืช และราวิซูเชียน ซึ่งเป็นนักล่าที่มีลักษณะคล้ายจระเข้ [2]
และเนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงมีการออกล่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคแรก ร่างกายที่ออกแบบมาเพื่อความคล่องตัว และฟันที่มีความแหลมคมของมัน ทำให้มันเป็นนักล่าที่มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการเคลื่อนไหวรวดเร็ว ด้วยสองขายังที่แข็งแรง ทำให้มันไล่ล่าเหยื่อได้อย่างง่ายดาย
ส่วนพฤติกรรมทางสังคมของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ มีการคาดเดาไว้ว่า พวกมันอาจล่าเหยื่อเพียงลำพัง โดยอาศัยศักยภาพในการซ่อนตัว และความเร็วในการเคลื่อนที่ ทำให้มันปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การล่าแบบกลุ่ม กลายเป็นการซุ่มรอเพื่อโจมตีเหยื่อ และการมีชีวิตของพวกมัน ทำให้มีบทบาทสำคัญในสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่
ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่ ก็มีไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ อีกหลากหลายสายพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมในยุคไทรแอสซิก ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีส่วนสนับสนุนต่อระบบนิเวศ และเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคไดโนเสาร์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกับเดมอนอซอรัส มีตัวอย่างรายชื่อดังต่อไปนี้
ซีโลฟิซิส ไดโนเสาร์นักล่าขนาดเล็ก ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความว่องไว มีรูปร่างเพรียวบาง และมีน้ำหนักร่างกายเบามาก ซึ่งไดโนเสาร์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ เป็นนักล่าที่ว่องไว ใช้ความเร็วในการล่าเหยื่อขนาดเล็ก อีกทั้งฟอสซิลที่มีการค้นพบ บ่งบอกว่าพวกมันอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมร่วมกัน
อีกหนึ่งไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง ทาวา (Tawa) กลุ่มเทอโรพอดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเด่นหลายด้าน หลักๆ ก็คือร่างกายค่อนข้างเล็ก และโครงกระดูกที่มีความโดดเด่น จึงมีความสำคัญต่อการวิวัฒนาการในยุคแรก โดยแสดงให้เห็นทั้งลักษณะดั้งเดิม และลักษณะที่ได้รับการสืบทอด ทำให้ไดโนเสาร์เหล่านี้มีความเกี่ยวข้อง และมีความสำคัญหลายๆ ด้าน [3]
หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล ในพื้นที่ของรัฐนิวเม็กซิโก บ่งบอกว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ เป็นนักล่าที่มีขนาดเล็ก มีกลยุทธ์ในการล่าเหยื่อที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความแข็งแรงของขาหลัง ทำให้มันเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ว่องไว และออกล่าเหยื่อได้หลากหลายประเภท แถมยังขยายพันธุ์โดยการวางไข่ เหมือนกับเทอโรพอดชนิดอื่นในยุคเดียวกัน
ไดโนเสาร์จากยุคโบราณ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่นักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับการวิจัยความเร็วในการเคลื่อนไหวของพวกมัน แต่การศึกษาไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน และมีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด นั่นก็คือไดโนเสาร์ Coelophysis พบว่าพวกมันมีความสามารถในการวิ่ง ประมาณ 25 ไมล์ต่อชั่วโมง
หากใครที่สนใจอยากจะพบเห็นไดโนเสาร์ชนิดนี้ สามารถรับเจอพวกมันได้ในภาพยนตร์ เรื่อง Primeval: New World ซึ่งภายในภาพยนตร์นี้ จะแสดงให้เห็นวิธีการโจมตีเหยื่อของพวกมัน โดยจะโจมตีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และลากเหยื่อของมันเข้าไปกินในพุ่มไม้