
ฟอสซิล บรอนโตซอรัส ฉายากิ้งก่าสายฟ้าจากไวโอมิง
- Chono
- 43 views
ฟอสซิล บรอนโตซอรัส ไดโนเสาร์กินพืชจากยุคจูราสสิกตอนปลาย ที่มีการค้นพบในตัวเมืองโคโมบลัฟฟ์ รัฐไวโอมิง มีการขุดพบฟอสซิลโครงกระดูกครบทุกส่วน แต่ไม่พบกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะ สำหรับรายละเอียดเนื้อหาของบทความบทนี้ เราจะขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการค้นพบ ไปจนถึงไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับพวกมัน มีข้อมูลดังนี้
สำหรับการค้นพบ ฟอสซิล บรอนโตซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีการขุดเจอโครงกระดูกขนาดใหญ่ คาดว่าเป็นของไดโนเสาร์ซอโรพอด โดยฟอสซิลมีลักษณะที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ในปี 1879 แต่ขาดเพียงกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะ พบโดยศาสตราจารย์ด้านบรรพชีวินวิทยา โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช
ซึ่งตัวอย่างฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ขุดเจอในชั้นหินมอร์ริสัน ใกล้กับตัวเมืองโคโมบลัฟฟ์ รัฐไวโอมิง ต่อมานักสะสมฟอสซิลชาวอเมริกัน วิลเลียม ฮาร์โลว์ รีด (William Harlow Reed) ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของไดโนเสาร์ชนิดนี้ และระบุให้มันอยู่ในสปีชีส์ใหม่ หลังจากนั้นเขาได้ตั้งชื่อให้กับมันว่า Brontosaurus excelsus
สำหรับชื่อบรอนโตซอรัส นั้นมาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “กิ้งก่าสายฟ้า” หลังจากที่มีขุดพบฟอสซิลในชั้นหินมอร์ริสัน ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีการขุดเจอฟอสซิลไดโนเสาร์มากที่สุด ต่อมาชั้นหินนี้ ได้กลายเป็นศูนย์กลางของสงครามกระดูก (Bone wars) และฟอสซิลสายพันธุ์ Brontosaurus excelsus กลายเป็นที่รู้จักมากที่สุด และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในช่วงเวลานั้น [1]
ไดโนเสาร์พืชขนาดใหญ่ตัวนี้ ที่เคยดำรงชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิก ปัจจุบันคือทวีปอเมริกาเหนือ ฟอสซิลของพวกมันถูกพบในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ รัฐไวโอมิง และรัฐโคโลราโด สำหรับรายละเอียดข้อเท็จจริง หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ปรากฏข้อมูลที่น่าสนใจ จากนักบรรพชีวินวิทยา ดังนี้
เคยมีการตั้งคำถาม เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านสงสัยว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่ในน้ำจริงหรือไม่ ซึ่งทางเอลเมอร์ ริกส์ หนึ่งในผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบ ในการดูแลฟอสซิลที่ขุดพบ และเป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กลุ่มแรก ที่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับการดำรงชีวิตบนบกของบรอนโตซอรัส
ข้อเสนอของเอลเมอร์กลับถูกละเลย จนกระทั่งในช่วงทศวรรษปี 1970 ก็ได้มีนักวิจัยยืนยันทฤษฎีของเขา จากการสำรวจโครงสร้างแขน ขา กระดูกสันหลัง มือและเท้า ล้วนแล้วเป็นการปรับตัวเพื่อรองรับน้ำหนัก โดยเฉพาะการดำรงชีวิตอยู่บนบก พวกมันต้องแบกรับน้ำหนักร่างกายมหาศาล การที่ลงไปอยู่ในน้ำ จะช่วยรองรับน้ำหนักของพวกมันได้ดียิ่งขึ้น
และจากการค้นพบฟอสซิลในบริเวณแม่น้ำ และทะเลสาบ ช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่ามันจะใช้ชีวิตอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกมันอาจเดินลุยน้ำตื้นเพื่อหาแหล่งอาหาร หรืออาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพื่อง่ายต่อการดื่มและทำความสะอาดร่างกาย อีกทั้งยังมีการเดินข้ามแม่น้ำสายใหญ่ เพื่อไปยังแหล่งอาหารใหม่อีกด้วย [2]
สำหรับบรอนโตซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช มันเป็นไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบไดโนเสาร์บนโลก ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิก เมื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้โตเต็มวัย จะมีความยาวกว่า 72 ฟุต วัดจากหัวไปจนถึงปลายหาง และเนื่องจากพวกมันเดินสี่ขา ทำให้มีลักษณะการเดินที่มั่นคง ขาของมันสามารถรองรับน้ำหนักของร่างกายกว่า 25 ตัน
อีกหนึ่งลักษณะเด่นของไดโนเสาร์ตัวนี้ พวกมันจะมีศีรษะที่เล็กมาก โดยเฉพาะการพิจารณาขนาดลำตัว แม้ว่านักบรรพชีวินวิทยาจะไม่พบฟอสซิลส่วนกะโหลกศีรษะ แต่พวกเขาก็สามารถประเมินได้คร่าวๆ เกี่ยวกับลักษณะศีรษะของพวกมัน อาจมีความคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์กินพืชคอยาว อย่างเช่น อะพาโตซอรัส
และไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีกล้ามเนื้อส่วนกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อส่วนคอ ที่มีความแข็งแรง ซึ่งคอของบรอนโตซอรัส ยังมีช่องอากาศขนาดใหญ่ ที่ช่วยในการรองรับน้ำหนัก และรักษาสมดุลในขณะที่พวกมันเคลื่อนไหว อีกหนึ่งจุดเด่นของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นั่นก็คือหางที่ยาวและแข็งแรง สามารถสะบัดหางไปมา เพื่อปกป้องตัวเองจากนักล่าได้อีกด้วย
สำหรับอาหารของไดโนเสาร์ตัวนี้ จากการพิจารณาขนาดที่ใหญ่ของมัน หลายท่านอาจคิดว่าบรอนโตซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อทั้งหมด แต่มันเป็นไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ ที่กินพืชเป็นอาหารอย่างเดียวเท่านั้น สามารถกินพืชพรรณต่างๆ ที่มันสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะการยืดคอที่ยาว ไปยังแหล่งอาหารที่อยู่สูง
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าทึ่งสำหรับไดโนเสาร์ตัวนี้ ในบางกรณีที่มันกินอาหาร บางครั้งมันจะกลืนก้อนหินลงไปด้วย เพื่อช่วยในการย่อยพืชในกระเพาะ ทำให้พวกมันได้รับสารอาหารได้มากที่สุด เท่าที่มันจะทำได้ เพราะบรอนโตซอรัสจะต้องรักษาน้ำหนัก ต้องกินอาหารเยอะมาก พอที่จะเทียบเท่ากับขนาดของตัวมันเองได้
ส่วนศัตรูหรือภัยคุกคามทางธรรมชาติ แม้ว่ามันจะมีขนาดร่างกายใหญ่โต และไม่น่าจะมีไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดใด กล้าที่จะพุ่งเข้ามาโจมตีพวกมัน เพราะในบางครั้ง หากว่ามันใช้ชีวิตเพียงลำพัง ขนาดร่างกายที่ใหญ่โตนี้ จะช่วยข่มขู่ศัตรูได้ดี ส่วนภัยคุกคามทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นกับไดโนเสาร์ตัวนี้ พวกมันอาจล้มตายจากการป่วยหรือการบาดเจ็บ [3]
สายพันธุ์ Excelsus ซึ่งได้รับการตั้งชื่อขึ้นในปี 1879 ตัวอย่างหลายชิ้นที่ขุดพบ ได้รับการกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ ฟอสซิลของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟิลด์ สำหรับน้ำหนักของพวกมัน มีประมาณ 15 ตัน มีความยาว 22 เมตร ซึ่งฟอสซิลนี้มีอายุย้อนกลับไปยุคคิมเมอริดจ์ตอนปลาย ประมาณ 152 ล้านปีที่ผ่านมา
ต่อมาสายพันธุ์ที่มนุษย์รู้จัก Parvus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกในปี 1902 ตัวอย่างฟอสซิลที่ขุดพบ อยู่ในเขต Albany โครงกระดูกค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา สามารถระบุลักษณะทางกายภาพของพวกมันได้อย่างชัดเจน โดยมีน้ำหนักสูงสุด 14 ตัน และมีความยาวสูงสุด 22 เมตร วัดจากหัวไปจนถึงปลายหาง
อีกหนึ่งสายพันธุ์ของบรอนโตซอรัสที่มนุษย์รู้จัก นั่นก็คือ Yahnahpin เป็นสายพันธุ์ที่เก่าแก่มากที่สุด ซึ่งพบฟอสซิลในชั้นหินมอร์ริสันตอนล่าง ในรัฐไวโอมิง มีอายุประมาณ 155 ล้านปีก่อน เมื่อพวกมันเติบโตเต็มวัย จะมีความยาวสูงสุด 21 เมตร ตัวอย่างโฮโลไทป์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์นั้น ก็คือกระดูกหลังกะโหลกศีรษะ แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการขุดเจอฟอสซิล ส่วนใหญ่มักจะพบในชั้นหินมอร์ริสัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมฟอสซิลของสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์บรอนโตซอรัส ถือเป็นสัตว์กินพืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบ และยังมีอีกหลายๆ สายพันธุ์ ที่มนุษย์สามารถศึกษา และหาข้อมูลได้อย่างชัดเจน จนนำไปสู่การอธิบายลักษณะทางกายภาพ
ด้วยลักษณะร่างกายที่โดดเด่น สูงใหญ่ และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืชชนิดแรกๆ ที่มนุษย์สามารถขุดพบ จนนำไปสู่บทบาทในภาพยนตร์ชื่อดังมากมาย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์ Jurassic Park
เปรียบเทียบขนาดของไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บรอนโตซอรัสและไทรันโนซอรัส โดยเฉพาะขนาดของร่างกายที่ใหญ่โตของสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ แต่บรอนโตซอรัสมีน้ำหนักมากถึง 38,000 ปอนด์ ซึ่งมากกว่าไทรันโนซอรัส เร็กซ์ 3 เท่า เปรียบเทียบการต่อสู้ของสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ คล้ายกับการต่อสู้ระหว่างช้างกับสิงโต