แหล่งรวมเกมส์ชั้นนำ สล็อต คาสิโน บาคาร่า พร้อมระบบล้ำทันสมัย รวดเร็วทันใจ

ฟอสซิล ชิเลซอรัส ไดโนเสาร์สายพันธุ์ประหลาดจากชิลี

ฟอสซิล ชิเลซอรัส

ฟอสซิล ชิเลซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์แปลกประหลาด ที่ถือกำเนิดขึ้นจากทางตอนใต้ของประเทศชิลี จากการขุดเจอซากดึกดำบรรพ์ พบว่ามีจุดเด่นที่น่าสนใจหลายจุด เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ในยุคปัจจุบัน อีกทั้งพวกมันยังเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ตัวนี้

  • ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิล
  • การจำแนกประเภทไดโนเสาร์วงศ์ตระกูลใกล้ชิดกัน
  • ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต

ฟอสซิล ชิเลซอรัส มีจุดเริ่มต้นการค้นคว้าตั้งแต่เมื่อใด?

ฟอสซิล ชิเลซอรัส ค้นพบครั้งแรกในปี 2004 โดยนักธรณีวิทยา มานูเอล ซัวเรซ และริต้า เดอลาครูซ ซึ่งในขณะนั้น พวกเขากำลังออกค้นหาหินประดับในประเทศชิลี จนขุดเจอกระดูกสันหลัง และซี่โครงของสิ่งมีชีวิต ต่อมาซากฟอสซิลเหล่านี้ ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า Chilesaurus และมีการค้นพบฟอสซิลเพิ่มเติมภายในปี 2008

หลังจากที่มีการศึกษาฟอสซิลเหล่านี้ พบว่าพวกมันมีลักษณะที่แปลกประหลาด ในปี 2015 ได้มีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ Diegosuarezi ได้รับการตั้งชื่อโดยนักบรรพชีวินวิทยา เฟอร์นันโด เอมีลิโอ โนวาส ซึ่งชื่อของมันได้มาจากประเทศชิลี เพราะเป็นสถานที่ที่ค้นพบฟอสซิล และต่อท้ายด้วยภาษากรีก โดยตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลที่ค้นพบคนแรก

โฮโลไทป์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยกะโหลกศีรษะ ขากรรไกรล่าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ซี่โครงแขนที่สมบูรณ์ ขา สะโพก ไหล่ และกระดูกสันหลังส่วนหาง ซึ่งแสดงถึงขนาดที่ไม่โตเต็มวัย อีกทั้งยังสามารถแบ่งแยกออกจากไดโนเสาร์ชนิดอื่น จากลักษณะเฉพาะหลายอย่างรวมกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากขุดเจอฟอสซิล

  • ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีอายุตั้งแต่ 152.1-145 ล้านปีก่อน
  • เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก
  • เป็นสัตว์นักล่า กินเนื้อเป็นอาหาร
  • ขยายพันธุ์โดยการวางไข่
  • นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบฟอสซิลตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น

ที่มา: Chilesaurus pictures and facts [1]

ความประหลาดของไดโนเสาร์ชนิดนี้คืออะไร?

นักวิทยาศาสตร์ได้ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ ทางตอนใต้ของประเทศชิลี ซึ่งมีลักษณะแปลกประหลาดหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะสายพันธุ์ Chilesaurus diegosuarezi ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มเดียวกันกับ ฟอสซิล ทีเร็กซ์ หรือไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด ซึ่งเป็นกลุ่มที่กินเนื้อ และอาศัยอยู่บนบก อีกทั้งไดโนเสาร์กลุ่มนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก

กะโหลกศีรษะและคอของพวกมัน มีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์คอยาว ที่มีชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ และกระดูกสันหลังของพวกมัน มีความคล้ายคลึงกับเทอโรพอดชนิดอื่นๆ มีแขนที่แข็งแรง แขนประกอบไปด้วยนิ้วมือทั้งหมด 2 นิ้ว พวกมันเคลื่อนไหวด้วยสองขาหลัง เท้าประกอบไปด้วยนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว อีกทั้งพวกมันยังมีกระดูกเชิงกรานคล้ายกับนก

การค้นพบฟอสซิลในครั้งนี้ พบว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่แปลกประหลาดอีกชนิดหนึ่ง ทางนักบรรพชีวินวิทยา เฟอร์นันโด โนวาส จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ Bernardino Rivadavia ในกรุงบัวโนสไอเรส เขาได้กล่าวไว้ว่า พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตแปลกประหลาด มีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างจากไดโนเสาร์ชนิดอื่น

มีการจำแนกประเภทไดโนเสาร์กลุ่มนี้อย่างไร?

ข้อมูลการศึกษาในปี 2017 พบว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาจถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Ornithischian แต่กลับถูกวิจารณ์ในช่วงเวลาต่อมา แต่ก็ได้มีการแนะนำว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ อาจอยู่ในกลุ่มเทอโรพอด ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกันกับ Ornithischian มากกว่ากับ Sauropodomorphs โดยมีแผนผังวงศ์ตระกูลที่เกี่ยวข้อง ดังข้อมูลต่อไปนี้

  • เฮอร์เรราซอริดี : ตระกูลไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของเทอโรพอด หรืออาจเป็นสาขาย่อยของเดรโคฮอร์ส อีกทั้งพวกมันเป็นกลุ่มไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยรู้จัก โดยปรากฏตัวครั้งแรกในบันทึกฟอสซิล เมื่อประมาณ 233.23 ล้านปีก่อน
  • ซีโลฟิซอยเดีย : ไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด พบได้ทั่วไปในช่วงไทรแอสสิกตอนปลาย และยุคจูราสสิกตอนต้น พวกมันกระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลก พวกมันเป็นนักล่าที่มีรูปร่างเพรียวบาง คล้ายกับไดโนเสาร์กลุ่มซีลูโรซอร์
  • เซราโตซอเรีย : กลุ่มไดโนเสาร์ที่ถูกจัดประเภท ให้กลายเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดทั้งหมด ไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงในวงศ์ตระกูลนี้ ได้แก่ Saltriovenator ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงต้นยุคจูราสสิก ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 199 ล้านปีที่ผ่านมา
  • เมกะโลซอรอยเดีย : วงศ์ตระกูลย่อยของเทอโรพอดเททานูรัน ที่มีชีวิตตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนกลาง จนถึงช่วงปลายยุคครีเทเชียส

ที่มา: Classification [2]

ข้อมูล ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิต

ฟอสซิล ชิเลซอรัส

จากข้อมูลที่นำเสนอไปข้างต้น ทำให้คุณได้รู้ว่าไดโนเสาร์ชิเลซอรัส เคยมีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย ปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์เดียวเท่านั้น โดยฟอสซิลที่รู้จัก ขุดพบทางตอนใต้ของประเทศชิลี พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร จากการศึกษาข้อมูลที่ได้จากฟอสซิล พบว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่แปลกประหลาด โดยเฉพาะการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์

สำหรับลักษณะทางกายภาพ เป็นการคาดเดาจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ อาจมีความยาวตั้งแต่หัวจนถึงปลายหาง ประมาณ 10.5 ฟุต และมีความสูงประมาณ 2.8 ฟุต เมื่อพิจารณาจากขนาดดังกล่าว คาดการณ์ว่าพวกมันอาจมีน้ำหนักร่างกายโดยรวมประมาณ 200-300 ปอนด์ มีฟันที่ออกแบบมาเพื่อเคี้ยวใบไม้ และกินสัตว์ขนาดเล็ก

ฟันมีลักษณะคล้ายไม้พาย และมีกระดูกหัวหน่าวที่หันไปด้านหลัง ซึ่งพบได้ทั่วไปในไดโนเสาร์ที่มีสะโพก ซึ่งคล้ายกับนกในยุคปัจจุบัน ขาหลังอาจไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการวิ่ง เนื่องจากมีเท้าที่กว้าง และมีกระดูกหน้าแข้งด้านหน้า ทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ส่วนแขนที่ประกอบไปด้วยกรงเล็บขนาดใหญ่ อาจมีไว้สำหรับปกป้องตัวเองจากนักล่า

ชิเลซอรัสกินอะไร และอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร?

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุป เกี่ยวกับอาหารของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ส่วนใหญ่พวกมันจะกินพืชเป็นอาหารหลัก ถึงแม้จะถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเทอโรพอด ฟันหน้าที่ยาวและหันไปข้างหน้า มีลักษณะคล้ายไม้พาย นอกจากนี้ยังมีกระดูกหัวหน่าวที่หันไปด้านหลัง การจัดวางตำแหน่งเหล่านี้ ทำให้มีพื้นที่เพิ่มเติมในการย่อยอาหาร

รวมถึงกระเพาะอาหารที่มีขนาดใหญ่ ลำไส้ยาว ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด ในบรรดาไดโนเสาร์กินพืช และเนื่องจากพวกมันใช้เวลาย่อยอาหารนานกว่า สิ่งที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของพวกมัน นั่นก็คือลำไส้ที่ยาว ที่บ่งชี้ว่าพวกมันเป็นสัตว์กินพืช เพราะสัตว์กินเนื้อจะมีลำไส้ที่สั้นกว่านั่นเอง

สำหรับถิ่นอาศัยของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ปัจจุบันคือพื้นที่ธารน้ำแข็ง รวมถึงทะเลสาบ พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยทุ่งน้ำแข็งขนาดใหญ่ เป็นอันดับสามของโลก นั่นก็คือทุ่งน้ำแข็งปาตาโกเนียตอนเหนือ และตอนใต้ ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิต สภาพอากาศของโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง พื้นที่รอบๆ มีอากาศที่อบอุ่นและชื้นมาก ป่าไม้ในบริเวณนั้นเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์

ชิเลซอรัสมีศัตรูตามธรรมชาติหรือไม่?

เนื่องจากพวกมันมีขนาดร่างกายค่อนข้างเล็กมาก อาจตกเป็นเหยื่อของไดโนเสาร์นักล่าหลายชนิด จากหลักฐานเพียงเล็กน้อย ที่บ่งชี้ว่าพวกมันอาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์นักล่า ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิก มีการค้นพบฟอสซิลเพียงไม่กี่ชิ้นจากอเมริกาใต้ ซึ่งรวมถึงสัตว์กินพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ Brachytrachelopan และ Tehuelchesaurus

และศัตรูตามธรรมชาติที่รู้จัก ได้แก่ Pandoravenator ไดโนเสาร์นักล่าที่อยู่ในช่วงเวลา และอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับชิเลซอรัส พวกมันอาศัยอยู่ในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อประมาณ 160-150 ล้านปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังเป็นไดโนเสาร์เครือญาติกับทีเร็กซ์ อัลโลซอรอยด์ มานิแรปทอร์รัน และกลุ่มสัตว์กินเนื้อขนาดกลาง ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัด [3]

สรุปโดยย่อของ ฟอสซิลชิเลซอรัส

สำหรับฟอสซิลของชิเลซอรัส ที่ถูกพบทางตอนใต้ของประเทศชิลี ทางนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ จนนำไปสู่การคาดคะเนถึงลักษณะทางกายภาพ และถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน อีกทั้งยังทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีพฤติกรรมการดำรงชีวิต และทำให้ได้รู้ว่าพวกมันมีศัตรูตามธรรมชาติ ได้แก่ไดโนเสาร์ชนิดใดบ้าง

เพราะเหตุไดโนเสาร์ชนิดนี้ถึงได้รับความสนใจ?

แม้ว่ามันถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเทอโรพอด หรือไดโนเสาร์กินเนื้อ ตามที่เข้าใจกันในตอนแรก แต่ข้อมูลการศึกษาครั้งล่าสุด พบว่าพวกมันเป็นสัตว์กินพืชกลุ่มใหญ่ ที่มีสะโพกคล้ายนก และยังอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไดโนเสาร์กินพืชที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ สเตโกซอรัส ไทรเซอราทอปส์ และอิกัวโนดอน

ชิเลซอรัสสูญพันธุ์ได้อย่างไร?

ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ตัวนี้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 145 ล้านปีที่ผ่านมา ในแง่ธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า ขอบเขตจูราสสิก-ครีเทเชียส ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านยุค แต่ทำยังทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้สึกสับสนด้วยเหตุผลหลายประการ อาจสูญพันธุ์จากการแยกตัวของทวีปแพนเจีย ส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง