
ฟอสซิล ชวนดงโกซีลูรัส นักล่าสายพันธุ์เก่าแก่ของจีน
- Chono
- 21 views
ฟอสซิล ชวนดงโกซีลูรัส ไดโนเสาร์นักล่าที่มีอายุเก่าแก่ชนิดหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์การค้นพบฟอสซิลในจีน ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเทอโรพอดขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ อัลโลซอรอยด์ และซีลูโรซอร์ ในบทความนี้ เราจะพาไปดูประวัติการค้นพบฟอสซิล และรายละเอียดข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
ฟอสซิล ชวนดงโกซีลูรัส มีการค้นพพบตัวอย่างเพียงสายพันธุ์เดียว นั่นก็คือ Chuandongocoelurus primitivus โดยได้รับการอธิบายข้อมูล และได้รับการตั้งชื่อครั้งแรก ในปี 1984 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีน เหอซินลู่ (He Xinlu) ซึ่งชื่อของไดโนเสาร์โบราณชนิดนี้ เป็นการผสมผสานระหว่างสถานที่พบ และนามสกุลของสัตว์กินเนื้อ
ชื่อนำหน้าของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากสถานที่พบฟอสซิลครั้งแรก ในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยพื้นที่นี้มีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ พวกมันมาจากสกุลเทอโรพอด ซึ่งเป็นคำภาษากรีกโบราณ แปลว่า “ไดโนเสาร์หางกลวง” หรือแปลเป็นภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่า “ไดโนเสาร์ยุคดั้งเดิม” ซึ่งอ้างอิงถึงอายุที่เก่าแก่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้
เหอซินลู่ได้จัดกระดูกบางส่วน ซึ่งเป็นโฮโลไทป์โครงกระดูกบางชิ้น จากตัวอย่างของ CCG 20010 ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีรอยต่อระหว่างนิวโรเซ็นทรัล ที่ไม่ได้เชื่อมกับกระดูกสันหลัง หมายความว่าฟอสซิลที่ถูกขุดเจอนี้ เป็นของไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัยนั่นเอง [1]
ข้อเท็จจริงหลังจากค้นพบฟอสซิล
สำหรับรูปร่างของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันเป็นนักล่าขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์ชนิดอื่น มันมีความยาวของกระดูกต้นขา 201 มิลลิเมตร นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า พวกมันมีความยาวของร่างกายประมาณ 1.5-2 เมตร และคาดว่าพวกมันมีน้ำหนักระหว่าง 15-30 กิโลกรัม ด้วยลักษณะรูปร่างเพรียวเบา ทำให้พวกมันเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะเด่นของไดโนเสาร์ชนิดนี้ นอกจากจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Coeluridae ที่ประกอบไปด้วยเทอโรพอดขนาดเล็ก-ขนาดกลางจำนวนมาก อีกทั้งรูปร่างเพรียวบาง และโครงกระดูกค่อนข้างยาวของพวกมัน ทำให้มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ฟอสซิลที่พบได้ระบุไว้ว่า พวกมันมีฟันที่แหลมคม และมักจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า
และไดโนเสาร์ชนิดนี้ ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ที่เคลื่อนไหวเร็วที่สุด และมีความสามารถในการล่าเหยื่อชั้นเยี่ยม สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย อีกทั้งยังมีไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับพวกมัน ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา เกิดข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ยุคโบราณสายพันธุ์นี้
พวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งน่าจะล่าเหยื่อขนาดเล็กกว่า ด้วยฟันอันแหลมคม และโครงสร้างร่างกายเพรียวเบา ที่ทำให้พวกมันเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว และทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับการล่าได้เป็นอย่างดี อาจล่าสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก และแมลง
ข้อมูลหลังจากศึกษาซากฟอสซิล แสดงให้เห็นว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีลักษณะคล้ายกับเทอโรพอดขนาดเล็กชนิดอื่น ซึ่งให้เบาะแสเกี่ยวกับอาหารของพวกมัน และนอกจากนี้ โครงกระดูกของมันบ่งชี้ว่า พวกมันเป็นนักล่าที่วิ่งได้รวดเร็วแล้ว พวกมันยังมีความเชี่ยวชาญด้านการหาอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเอาชีวิตรอด ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิก
ต้องบอกก่อนเลยว่า พวกมันเป็นไดโนเสาร์จากยุคโบราณ อาจมีข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่มากพอ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการคาดเดา แต่สามารถอนุมานได้จากกายวิภาค และบันทึกฟอสซิลของนักบรรพชีวินวิทยา บ่งบอกว่าพวกมันอาจมีพฤติกรรมทางสังคม คล้ายกับไดโนเสาร์นักล่าในยุคสมัยใหม่ แถมพวกมันยังมีพฤติกรรมการทำรัง เพื่อเป็นที่ขยายพันธุ์จากการวางไข่ [2]
การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์ Chuandongocoelurus เกิดขึ้นในปี 1984 หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชิ้นส่วนโครงกระดูกของไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ข้อมูลจากทาง เดวิด บรูซ นอร์แมน (David Bruce Norman) บ่งบอกว่าพวกมันเป็นเทอโรพอด แต่ในทางกลับกัน ข้อมูลจากทาง Benson (Benson) บอกว่าพวกมันเป็นเครือญาติกับโมโนโลโฟซอรัส
ตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์เครือญาติ
ที่มา: Classification [3]
ไดโนเสาร์นักล่าจากประเทศจีน หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล สามารถสนับสนุนความเข้าใจ เกี่ยวกับเทอโรพอดขนาดเล็ก ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของยุคจูราสสิก การจำแนกประเภทของพวกมัน ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ส่งผลต่อมุมมองความสัมพันธ์ ระหว่างไดโนเสาร์จากยุคโบราณ และนักวิทยาศาสตร์ในยุคสมัยใหม่
งานวิจัยฟอสซิลหลายๆ งาน สามารถเชื่อมโยงไดโนเสาร์ชนิดนี้ กับไดโนเสาร์โมโนโลโฟซอรัส ซึ่งได้เผยให้เห็นข้อมูลการเชื่อมโยงใหม่ๆ ในตระกูลไดโนเสาร์กินเนื้อ และผลจากการศึกษาฟอสซิล พบข้อมูลที่ช่วยเติมเต็มช่องว่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการ และการปรับตัวของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
อีกทั้งการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ยังช่วยให้มนุษย์ได้เข้าใจ เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศโบราณ ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ให้เบาะแสเกี่ยวกับถิ่นอาศัยและอาหารการกิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรวบรวมฟอสซิล ของไดโนเสาร์ที่มีชีวิตในยุคนั้น
ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ตัวนี้มีชีวิตอยู่ โลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน ภูมิอากาศอบอุ่นขึ้น และหลายๆ ภูมิภาคถูกปกคลุมไปด้วยป่าทึบ ในขณะที่บางภูมิภาคเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ข้อมูลเหล่านี้สามารถสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ มีพืชพรรณและสัตว์หลากหลายชนิด
ช่วยความเกี่ยวข้องทางชีววิทยาโบราณ เผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึก ที่สำคัญต่อการกิน และรูปแบบพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน การทำความเข้าใจว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ ใช้ชีวิตและโต้ตอบกับสภาพแวดล้อม จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมไดโนเสาร์ชนิดนี้ และได้เข้าใจพวกมันมากยิ่งขึ้น
โดยรวมแล้ว ข้อมูลหลังจากที่มีการขุดเจอฟอสซิล ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ได้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางร่างกาย ขนาดและความยาว ไปจนถึงความสามารถในการหาอาหาร และพฤติกรรมการดำรงชีวิต จนนำไปสู่การศึกษาข้อมูลเชิงลึก ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตอยู่
จากการสำรวจโครงสร้างทางร่างกาย โดยเฉพาะโครงสร้างกระดูกส่วนขาหลังของพวกมัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดเดาได้ว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้มีความสามารถในการวิ่งที่รวดเร็ว และเมื่อพวกมันออกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด จะมีความเร็วในการเคลื่อนไหวประมาณ 24 ไมล์ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
ไดโนเสาร์นักล่าขนาดเล็กชนิดนี้ ปรากฏตัวในสื่อต่างๆ มากมาย รวมถึงการปรากฏตัวในสารคดี และหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จะช่วยแนะนำไดโนเสาร์ และสาขาบรรพชีวินวิทยาให้กับผู้ชม