
ประวัติ ดราโกเวเนเตอร์ นีโอเทอโรพอดจากยุคจูราสสิก
- Chono
- 22 views
ประวัติ ดราโกเวเนเตอร์ ไดโนเสาร์จากกลุ่มนีโอเทอโรพอด ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคจูราสสิกตอนต้น ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 201-199 ล้านปีก่อน ปัจจุบันพื้นที่ที่มีการค้นพบฟอสซิล อยู่ในบริเวณพื้นที่แอฟริกาใต้ สำหรับประวัติการค้นพบฟอสซิลครั้งแรก และรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังเนื้อหาต่อไปนี้
ประวัติ ดราโกเวเนเตอร์ (Dracovenator) เริ่มต้นที่บริเวณ Upper Drumbo Farm มีการขุดเจอฟอสซิลในชั้นหินกลุ่ม Stormberg ในประเทศแอฟริกาใต้ ถูกพบโดยสองนักบรรพชีวินวิทยา เจมส์ คิทชิง (James Kitching) และ รีเจนท์ (Regent) ซึ่งได้รวบรวมซากฟอสซิลเหล่านี้ ในชั้นหินทราย ที่ถูกทับถมเมื่อประมาณ 201-199 ล้านปีที่ผ่านมา
สำหรับตัวอย่างฟอสซิลที่ขุดพบ ในปี 1981 ที่ชั้นหิน Elliot ตัวอย่างโฮโลไทป์และพาราไทป์ ถูกเก็บรักษาไว้ในคอลเล็กชันฟอสซิล ของสถาบันวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยา (Evolutionary Studies Institute) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ School of Geosciences จากมหาวิทยาลัยวอเตอร์สแรนด์ ในโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
สำหรับชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากคำภาษาละติน แปลว่า “มังกรนักล่า” คำว่า Draco หมายถึงการค้นพบที่เชิงเขา Drakensberg ในภาษาดัตช์เรียกว่า “ภูเขามังกร” ส่วนชื่อเฉพาะ Regenti มาจากการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติ แก่บุคคลที่ค้นพบฟอสซิลครั้งแรก Lucas Huma เขาเป็นผู้ช่วยภาคสนามของศาสตราจารย์ Kitching [1]
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดราโกเวเนเตอร์
จากการศึกษาฟอสซิลที่ขุดพบ นักวิทยาศาสตร์คาดเดาได้ว่า พวกมันมีความยาวระหว่าง 5.5-6.5 เมตร (18-21 ฟุต) มีการประมาณความสูง 7 เมตร (23 ฟุต) และยังมีน้ำหนักของร่างกายโดยรวมประมาณ 400 กิโลกรัม (882 ปอนด์) ตัวอย่างโฮโลไทป์ประกอบไปด้วยกระดูกพรีแม็กซิลลา ชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบน ชิ้นส่วนกระดูกฟัน 2 ซี่ และกระดูกข้อต่ออีกหลายชิ้น
มีการค้นพบรอยฟันที่ขากรรไกรบน ระหว่างกระดูกขากรรไกรบนและพรีแม็กซิลลา พบว่าปลายด้านหลังของขากรรไกรล่าง มีก้อนและตุ่มมากมาย ซึ่งเป็นอาการที่พบในกลุ่มไดโนเสาร์ Dilophosaurus แต่มีขนาดที่เล็กกว่า ข้อมูลจากสองนักบรรพชีวินวิทยา มุนีกวาและราธ พบว่าตัวอย่างเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของไดโนเสาร์เยาว์วัย [2]
และการวินิจฉัยจากลักษณะทางกายภาพ มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไปจากออโตโปมอร์ฟี ข้อมูลในปี 2005 ของนักบรรพชีวินวิทยา บอกว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีโพรงสองแฉกขนาดใหญ่ ล้อมรอบรูขนาดใหญ่ของพรีแม็กซิลลา ซึ่งเชื่อมต่อกับขอบถุงลมด้วยช่องแคบ อีกทั้งยังมีวิวัฒนาการข้อต่อที่ดี ทำให้ขากรรไกรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักบรรพชีวินวิทยา Yates กล่าวไว้ในปี 2005 กำหนดให้ไดโนเสาร์กลุ่มนี้ อยู่ในกลุ่ม ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ (Neotheropoda) จากการวิเคราะห์เชิงพันธุกรรมครั้งแรก พบว่าพวกมันอยู่ร่วมกับเทอโรพอด โดยเฉพาะไดโนเสาร์ Dilophosaurus และ Zupaysaurus ซึ่งมีกะโหลกศีรษะต้นแบบ ที่แสดงให้เห็นภาพรวมของกลุ่มไดโนเสาร์ที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างรายชื่อไดโนเสาร์ที่ใกล้ชิดกับพวกมัน
จากการนำเสนอข้อมูลข้างต้น ที่ทางผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับการค้นพบฟอสซิล อธิบายลักษณะทางกายภาพ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจำแนกประเภท สำหรับรายละเอียดเนื้อหาส่วนถัดไป ทางเราจะพาไปดูสภาพแวดล้อมที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่ รวมถึงจุดเด่นที่น่าสนใจ มีรายละเอียดข้อมูลดังนี้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกมันสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และมีชีวิตในช่วงยุคจูราสสิตอนต้น คาดว่าภูมิอากาศในช่วงเวลานั้น มีลักษณะอบอุ่นและกึ่งแห้งแล้ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ซึ่งส่งผลต่อพืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่ และเพียงพอต่อการดำรงชีวิต สำหรับไดโนเสาร์นักล่าชนิดนี้
และเนื่องจากพวกมันกินเนื้อเป็นอาหาร อาหารส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยไดโนเสาร์ชนิดอื่น อาจรวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ด้วยลักษณะฟันอันแหลมคม และขากรรไกรที่ทรงพลัง ทำให้มันเป็นนักล่าที่น่าเกรงขาม สามารถล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ดี แถมยังมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ด้วยสองขาหลังอันทรงพลังของพวกมัน
ส่วนข้อมูลพฤติกรรมทางสังคมของดราโกเวเนเตอร์ คาดว่าน่าจะเป็นนักล่าโดดเดี่ยว โดยอาศัยการซ่อนตัว และความเร็วในการดักจับเหยื่อ ประสาทสัมผัสที่ยอดเยี่ยม และมีความเฉียบแหลม โดยเฉพาะการมองเห็นที่เฉียบคม รวมถึงการดมกลิ่น ทำให้มันมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ และยังช่วยควบคุมจำนวนไดโนเสาร์กินพืช ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
ที่มา: Interesting Points about Dracovenator [3]
ข้อมูลหลังจากที่มีการขุดเจอฟอสซิล สิ่งที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ควรจะต้องรู้ นั่นก็คือสถานที่ที่มีการค้นพบฟอสซิล ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และสภาพแวดล้อมที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้อาศัยอยู่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ และทำให้รู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต ของไดโนเสาร์ในยุคจูราสสิกตอนต้น
บทบาทในสื่อสมัยใหม่ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันปรากฏตัวในแฟรนไชส์ Jurassic Park คุณสามารถพบเห็นพวกมันในวิดีโอเกม Jurassic World: Primal Ops ที่เปิดตัวในปี 2022 และยังปรากฏตัวในวิดีโอเกม Jurassic World Alive ที่แสดงให้เห็นว่าพวกมัน เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ลูกผสมตัวแรก
ข้อมูลจากงานวิจัยฟอสซิล พบว่าไดโนเสาร์นักล่าชนิดนี้ มีความสามารถในการวิ่งที่รวดเร็ว ด้วยลักษณะโครงสร้างร่างกายเพรียวเบา และขาหลังอันทรงพลัง ทำให้มันมีความเร็วในการเคลื่อนที่มากถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง