
ประวัติการพบ ดิพลอโดคัส ยักษ์ใหญ่จากยุคจูราสสิก
- Chono
- 83 views
ประวัติการพบ ดิพลอโดคัส ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มซอโรพอด จากการศึกษาซากฟอสซิล ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา ได้รับรู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ เคยมีชีวิตอยู่บนโลก ย้อนกลับไปในยุคจูราสสิกตอนปลาย เมื่อประมาณ 154 ล้านปีก่อน สำหรับบทความนี้ เราจะพาไปดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับเจ้ายักษ์ใหญ่จากยุคดึกดำบรรพ์
ประวัติการพบ ดิพลอโดคัส เกิดขึ้นจากการจดบันทึกของ มาร์แชลล์ พี เฟลช์ (Marshall P. Felch) ที่ได้ออกสำรวจพื้นที่ในบริเวณ Garden Park ซึ่งใกล้กับรัฐโคโรลาโด จนกระทั่งการมาถึงของ เบนจามินและซามูเอล พวกเขาได้รวบรวมฟอสซิลหลายชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟอสซิลที่ไม่สมบูรณ์ และได้ส่งตัวอย่างไปยังพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติพีบอดี
จากการขุดพบซากฟอสซิล ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังส่วนหาง 2 ชิ้น จึงมีการตั้งชื่อไว้ว่า Diplodocus longus ซึ่งบุคคลที่ตั้งชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ได้แก่ โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช (Othniel Charles Marsh) ในปี 1878 เขาได้ทำการตั้งชื่อสายพันธุ์นี้ขึ้นมา ในช่วงที่เกิดสงครามกระดูก สามารถดูข้อมูลสงครามกระดูกได้ เพียงแค่คลิก Bone Wars
และหลังจากสงครามกระดูกสิ้นสุดลง การค้นพบฟอสซิลที่น่าสนใจ และมีความสำคัญมากที่สุด เกิดขึ้นในปี 1899 ซึ่งมีลูกเรือจากพิพิธภัณฑ์คาร์เนกี ได้รวบรวมฟอสซิลในชั้นหินมอร์ริสัน ในรัฐไวโอมิง เป็นการค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ และได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติคาร์เนกี [1]
ไดโนเสาร์กินพืชจากยุคจูราสสิกตอนปลาย พวกมันถูกจัดให้อยู่ในตระกูล Diplodocidae ซึ่งประกอบไปด้วยไดโนเสาร์ที่มีคอและหางยาว ลำตัวและขนาดของแขนขาเรียวบาง กะโหลกศีรษะเล็ก มีการเคลื่อนไหวด้วยขาทั้งสี่ หมายความว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ อยู่ในกลุ่มซอโรพอด ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของไดโนเสาร์ที่มีสะโพกคล้ายกิ้งก่า
Diplodocus มีความยาวประมาณ 85 ฟุต บางตัวอาจมีความยาวได้ถึง 100 ฟุต ซึ่งสาเหตุที่ทำให้พวกมันมีความยาวที่แตกต่างกัน มาจากลักษณะคอและหาง ซึ่งคล้ายกับแส้ ลำตัวแคบแต่สูง กะโหลกศีรษะขนาดเล็ก ซึ่งหุ้มสมองที่เล็กที่สุด และพวกมันมีน้ำหนักเมื่อเจริญเติบโตเต็มวัย ประมาณ 30 ตัน บางตัวอาจมีน้ำหนักถึง 80 ตัน
โครงสร้างกระดูกสันหลังที่เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะกลวง แต่ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักร่างกายได้ดี นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่า กระดูกที่มีลักษณะกลวงเหล่านี้ ช่วยปกป้องหลอดเลือด และปกป้องเนื้อเยื่อบริเวณหาง ส่วนขาหลังมีขนาดที่ใหญ่กว่าขาหน้า แต่มีความแข็งแรง และสามารถยืดหยุ่นได้ดี
สำหรับเจ้ายักษ์กินพืชจากยุคจูราสสิก ปัจจุบันคือบริเวณอเมริกาเหนือ ซึ่งมีการค้นพบฟอสซิลหลากหลายพื้นที่ ได้แก่ นิวเม็กซิโกและเซาท์ดาโกตา เป็นระยะเวลานานที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์บก ที่มีขนาดและความยาวที่ยาวที่สุดในโลก และมีลักษณะเด่นอยู่ตรงกระดูกใต้หางขนาดใหญ่ของมัน
พวกมันเป็นสัตว์กินพืช ซึ่งอาหารส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่อยู่ในระดับสูง ด้วยความยาวที่เทียบเท่ากับรถเมล์ ขาที่แข็งแรง ลำคอที่ยาวและกว้าง ทำให้มันต้องกินอาหารในปริมาณมาก จากการวาดภาพของศิลปะในยุคสมัยเก่าแก่ แสดงให้เห็นท่าทางการเดินคร่อมขาทั้งสองข้าง นักวิจัยเชื่อว่า มันมีท่าทางที่คล้ายกับม้าในยุคปัจจุบันมากกว่า
ที่มา: Diplodocus pictures and facts [2]
สำหรับถิ่นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิตในยุคจูราสสิก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศของโลก เต็มไปด้วยความอบอุ่นและความชื้น จากการค้นพบฟอสซิลในทวีปอเมริกาเหนือ และการค้นพบในมหาทวีปลอเรเซีย ซึ่งภูมิภาคส่วนใหญ่ จะเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ พร้อมแหล่งอาหารหลากหลายประเภท
ไดโนเสาร์ตัวนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกหาแหล่งอาหาร มันจะใช้คอที่ยาวของมัน เอื้อมไปถึงแหล่งอาหารที่อยู่สูง และเนื่องจากพวกมันเป็นสัตว์กินพืช จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดภูมิประเทศ โดยการกินพืชจำนวนมาก จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต และช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
พวกมันเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวด้วย 4 ขา คอและหางที่ยาวของมัน ออกแบบมาเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย ช่วยให้มันทรงตัวได้ดี ในขณะที่พวกมันกำลังเคลื่อนไหว ถึงแม้ว่าจะปรากฏข้อมูลที่ไม่ชัดเจนมากนัก เกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมของพวกมัน แต่ด้วยลักษณะที่โดดเด่นของมัน ทำให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สำหรับไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ Diplodocus แถมยังมีพฤติกรรมเฉพาะตัว สำหรับไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ร่วมสมัยกับพวกมัน ได้แก่ อัลโลซอรัส ไดโนเสาร์นักล่าแสนดุร้าย แตกต่างไปจากเจ้ายักษ์กินพืช ที่มีนิสัยอ่อนโยน รักสงบมากกว่า อัลโลซอรัสอาจใช้ฟันอันแหลมคม เข้าจู่โจมดิพลอโดคัสได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ ยังมีไดโนเสาร์กินพืชอีกหนึ่งชนิด Apatosaurus ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับดิพลอโดคัส อีกทั้งยังมีไดโนเสาร์กินพืชเพื่อนบ้าน ได้แก่ สเตโกซอรัส ซึ่งอาจเพิ่มความซับซ้อนในระบบนิเวศ และการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก อาจส่งผลต่อระบบนิเวศที่ไดโนเสาร์จำพวกนี้อาศัยอยู่
จุดเด่นที่น่าสนใจของไดโนเสาร์ชนิดนี้
ที่มา: Interesting Points about Diplodocus [3]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการขุดพบฟอสซิล ในทวีปอเมริกาเหนือ เมื่อปี 1877 ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาหลายๆ ท่าน สามารถระบุชนิดสายพันธุ์ไดโนเสาร์ดังกล่าว และสามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก ลักษณะทางกายภาพ รวมไปถึงการเขียนบทบาท ที่ทำให้พวกมันมีปรากฏตัวในสื่อต่างๆ อีกด้วย
หลายท่านอาจสงสัย ว่าทำไมไดโนเสาร์ชนิดนี้ หรือไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิก ถึงสูญพันธุ์ไปจากโลกของเรา เหลือเพียงแค่การขุดพบฟอสซิลเท่านั้น ซึ่งสาเหตุของการสูญพันธุ์ อาจมาจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ส่งผลให้สิ่งมีชีวิต ล้มตายเป็นจำนวนมาก จนนำไปสู่การสูญพันธุ์ไปจากโลก
ด้วยลักษณะทางกายภาพ และโครงสร้างทางร่างกายมหึมาของพวกมัน ไม่ได้สร้างมาเพื่อการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว อาจทำได้เพียงแค่การเดินเร็วเท่านั้น แต่ด้วยลักษณะขาที่ยาวและมีขนาดที่ใหญ่โต ทำให้มันสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วประมาณ 12-22 ไมล์ต่อชั่วโมง