
ถิ่นอาศัย ไนอาซาซอรัส สัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในบราซิล
- Chono
- 44 views
ถิ่นอาศัย ไนอาซาซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่า ที่อาศัยอยู่ทางตอนกลางของยุคไทรแอสซิก ถูกจัดให้อยู่ในสกุลอาร์โคซอร์ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งสายพันธุ์ที่พบเจอ และได้รับการระบุในครั้งแรก ได้แก่สายพันธุ์ Nyasasaurus parringtoni สำหรับข้อมูลในบทความนี้ เราจะพาไปดูถิ่นอาศัย และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้
ถิ่นอาศัย ไนอาซาซอรัส จากบันทึกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุด ถูกพบในบราซิลและอาร์เจนตินา มีอายุย้อนกลับไปในช่วงปลายยุคคาร์เนียน เมื่อประมาณ 233-231 ล้านปีก่อน จากผลการศึกษาทางด้านงานวิจัย เผยข้อสงสัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ พบว่าพวกมันมีชีวิตในยุคไทรแอสซิกตอนต้น ประมาณ 243 ล้านปีก่อน
ประวัติการค้นพบฟอสซิล ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1930 โฮโลไทป์ถูกเก็บรวบรวมในพื้นที่ Manda Formation ซึ่งใกล้กับทะเลสาบไนอาซา ทางตอนใต้ของแทนซาเนีย ถูกพบโดย นักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ ฟรานซิส เร็กซ์ พาร์ริงตัน ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเศษกระดูก ที่ปะปนกับไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ
อีกหนึ่งตัวอย่างฟอสซิล ที่อ้างอิงว่าเป็นของไนอาซาซอรัส ถูกเก็บรวบรวมในช่วงต้นทศวรรษปี 1930 ทางตะวันตกของกลุ่มหินแมนดา (Manda) และเนื่องจากฟอสซิลที่ขุดพบนั้น มีโครงสร้างที่ไม่สมบูรณ์ จึงมีการจัดประเภทของมัน ให้อยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (Archosauria) ปัจจุบันคือกลุ่มของจระเข้และนกนั่นเอง [1]
สำหรับไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุด Nyasasaurus ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 พวกมันอาศัยอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนต้น สาเหตุที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้สึกตื่นเต้น นั่นก็คือในช่วงยุคไทรแอสซิก ไดโนเสาร์มีการกำเนิดในอเมริกาใต้ เมื่อประมาณ 10 ล้านปีก่อน และห่างออกไปประมาณ 1,000 ไมล์
แม้ว่าจะไม่ค่อยปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับพวกมัน แต่นักวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นถึงสายพันธุ์ และลักษณะกายภาพที่ชัดเจน พวกมันเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีความยาวตั้งแต่หัวไปจนถึงหาง ประมาณ 10 ฟุต อาจดูว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่โต เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสซิกชนิดอื่น โดยเฉพาะหางของพวกมัน ที่มีความยาวถึง 5 ฟุตด้วยกัน
สิ่งหนึ่งที่ยังคงทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ยังเป็นที่น่าสงสัย เกี่ยวกับอาหารการกินของพวกมัน ซึ่งไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ที่ถือกำเนิดก่อนการจำแนกสายพันธุ์ ดูเหมือนว่าพวกมันจะกินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกับ ฟอสซิล เฮอร์เรราซอรัส และมีหนึ่งในข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจ กล่าวไว้ว่า พวกมันบางตัวที่มีการวิวัฒนาการ อาจจะกินลูกหลานของมันในบางกรณี [2]
จากการค้นพบฟอสซิลโครงกระดูก ประกอบไปด้วยกระดูกต้นแขนด้านขวา กระดูกสันหลัง ซึ่งโครงกระดูกเหล่านี้บ่งชี้ว่า พวกมันมีความยาวประมาณ 2-3 เมตร มีลักษณะเด่นอยู่ตรงกระดูกต้นแขน ที่เชื่อมติดกับกล้ามเนื้อ แม้ว่าอาหารและพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมัน ไม่ปรากฏข้อมูลที่แน่ชัด แต่โครงสร้างเหล่านี้ บ่งบอกว่าพวกมันมีความกระตือรือร้น
สำหรับการประมาณขนาดของโครงสร้างทางร่างกาย พบว่าพวกมันมีความยาว 2-3 เมตร มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ซึ่งวัดจากสะโพก ส่วนน้ำหนักโดยรวมของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีการประมาณน้ำหนักไว้ว่า 100 ปอนด์ ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างฟอสซิลที่มีการค้นพบ และเชื่อกันว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ใช้ชีวิตในที่ราบทางตอนใต้ของแอฟริกา
สำหรับไดโนเสาร์ที่มีอายุที่เก่าแก่ ซึ่งถือกำเนิดบนโลกเมื่อประมาณ 243 ล้านปีก่อน การค้นพบฟอสซิลของพวกมัน ยังคงเป็นข้อมูลที่ไม่ชัดเจน และยังเป็นปริศนาสำหรับนักบรรพชีวินวิทยา เนื่องจากหลักฐานที่ค้นพบมีอย่างจำกัด ส่งไม่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีการดำรงชีวิต ส่วนใหญ่เป็นการอ้างอิงจากข้อมูลของไดโนเสาร์ที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับการวิจัยร่วมสมัย ของนักบรรพชีวินวิทยา ที่ได้ทำการศึกษาฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จนนำไปสู่การระบุประเภทได้อย่างชัดเจน แม้ว่ามันจะเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบ แต่พวกมันก็ยังคงอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเน้นการวิจัยไปที่ลักษณะโครงกระดูก และความแตกต่างของไดโนเสาร์ยุคแรก
สำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในวงการบรรพชีวินวิทยา ซึ่งมีการถือกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียด และซอฟต์แวร์การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา สามารถตรวจสอบกระดูกฟอสซิลของพวกมัน และพบรายละเอียดที่ไม่เคยมีมาก่อน
และทำให้มนุษย์ได้รู้ว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด โดยมีอายุราวๆ 243 ล้านปีก่อน ซึ่งเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ที่เคยมีการค้นพบ ในประเทศอาร์เจนตินา ได้แก่ Herrerasaurus, Panphagia, Eoraptor และ Coelophysis โดยทั้งหมดมีอายุแตกต่างกันเกือบ 15 ล้านปี และได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการวิวัฒนาการขั้นสูง [3]
จากข้อมูลที่ได้นำเสนอไปข้างต้น โดยรวมแล้วพบว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือเป็นไดโนเสาร์ที่มีอายุมากที่สุด และถือกำเนิดบนโลก ก่อนที่จะมีการแบ่งแยกทวีป พวกมันเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ แม้จะไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนมากนัก แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
การวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะเหมือนกับไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ซึ่งจะวิวัฒนาการมาจากอาร์โคซอร์ ถึงแม้จะมีข้อมูลปรากฏไม่ชัดเจนมากนัก แต่หลังจากที่เกิดการวิวัฒนาการ ก็ได้ถือกำเนิดไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ และเป็นไดโนเสาร์ที่ผู้คนรู้จักมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ และอีโอแรปเตอร์
หลังจากที่มีการค้นพบฟอสซิล และได้รู้ว่าพวกมันสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบัน ไดโนเสาร์ชนิดนี้ยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปรากฏตัวตามสื่อต่างๆ ได้แก่ การ์ตูนหรือภาพยนตร์ และการกล่าวถึงข้อมูลของพวกมันในหนังสือ หรือการจัดแสดงโชว์ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์