
ขนาด เดรดนอทัส ยักษ์ใหญ่กินพืชจากกลุ่มไททัน
- Chono
- 100 views
ขนาด เดรดนอทัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ซึ่งมาจากกลุ่มไททันโนซอร์ มีการค้นพบฟอสซิลเพียงแค่หนึ่งสายพันธุ์เท่านั้น พวกมันอาศัยอยู่ในช่วงเวลาของยุคครีเทเชียสตอนบน ระหว่างยุคแคมพาเนียน ไปจนถึงยุคมาสทริชเชียน เมื่อประมาณ 76-70 ล้านปีก่อน และมันยังเป็นหนึ่งในสัตว์บก ที่มีกระดูกสันหลังใหญ่ที่สุด เท่าที่มนุษย์ได้มีการค้นพบ
สำหรับคำถามที่ถามเกี่ยวกับ ขนาด เดรดนอทัส (Dreadnoughtus) ย้อนกลับไปในช่วงที่พวกมันมีชีวิต นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ความยาวของร่างกาย ประมาณ 86 ฟุต และมีน้ำหนักมากถึง 60 ตัน ซึ่งมีน้ำหนักที่มากกว่ารถถังในยุคปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีชีวิตในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ประมาณ 84 ล้านปีที่ผ่านมา
มันเป็นไททันโนซอร์ขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นอยู่ที่หัว คอ และหางเรียวยาว ทำให้พวกมันถูกจัดให้อยู่ในประเภทซอโรพอด ร่วมกับไดโนเสาร์กินพืชชนิดอื่น เช่น อะพาโตซอรัส ช่วงเวลาที่มันดำรงชีวิตอยู่บนโลก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการหาอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่อยู่บนต้นไม้สูงใหญ่ มักจะกินต้นเฟิร์น และใบไม้จากกิ่งไม้ที่อยู่สูง
สิ่งที่ทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในกลุ่มของสัตว์ที่มีชีวิตก่อนยุคประวัติศาสตร์ นั่นก็คือปริมาณการค้นพบฟอสซิล ที่ประกอบไปด้วยกระดูกต้นแขน และกระดูกต้นขาขนาดใหญ่ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา Lacovara พร้อมกับผองเพื่อน ร่วมกันประมาณน้ำหนักของไดโนเสาร์ จากการใช้เส้นรอบวงของฟอสซิลเหล่านี้ [1]
สำหรับสภาพแวดล้อมที่ เดรดนอทัสอาศัยอยู่นั้น ปัจจุบันคือประเทศอาร์เจนตินา ย้อนกลับไปในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว ภูมิภาคแห่งนี้มีอากาศอบอุ่น รายล้อมไปด้วยสิ่งมีชีวิต และแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าว เหมาะกับการใช้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ปลอดภัยจากไดโนเสาร์นักล่า
เนื่องจากมันเป็น ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช จึงมีการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า มันค่อยๆ เคลื่อนตัวไปตามป่าไม้ และในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เพื่อออกหาอาหาร อาหารหลักของมันจะประกอบไปด้วยพืช ซึ่งจากลักษณะคอที่ยาวของพวกมัน ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เข้าถึงแหล่งอาหารได้ง่าย และมักจะใช้ร่างกายขนาดใหญ่ ในการข่มขู่ไดโนเสาร์นักล่า ที่จะเข้ามาโจมตีพวกมัน
จุดเด่นที่น่าสนใจของไดโนเสาร์ชนิดนี้
ที่มา: Interesting Points about Dreadnoughtus [2]
รายชื่อไดโนเสาร์สายพันธุ์แรก ที่พบว่าเคยอาศัยอยู่ร่วมกับเดรดนอทัส ได้แก่โนอาซอรัส ไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กกว่า พวกมันเป็นนักล่าที่มีความคล่องแคล่ว ว่องไว และมีความเป็นไปได้ว่าพวกมัน อาจใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหว เข้าโจมตีเดรดนอทัส อาใช้วิธีวิ่งไปรอบๆ ตัว ก่อนที่จะพุ่งโจมตีเข้าไปที่ขาทั้งสี่ข้าง
ต่อมาก็คือไดโนเสาร์กินพืชซัลตาซอรัส (Saltasaurus) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า สิ่งที่ใช้จำแนกไดโนเสาร์สองชนิดนี้ ก็คือกระดูกที่เป็นเกราะป้องกัน ที่อยู่ตามลำตัวของพวกมัน แต่สำหรับไดโนเสาร์เดรดนอทัส ไม่มีเกราะป้องกันลักษณะนี้ แต่ไดโนเสาร์ทั้งสองสายพันธุ์ ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ และช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีววิทยา
และการที่พวกมันมีชีวิตอยู่บนโลก จนนำไปสู่การค้นพบฟอสซิล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติคาร์เนกี (CMNH) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 2005 โดย ดร. แมตต์ ลามันนา ได้รวบรวมโครงกระดูกฟอสซิลดังกล่าว ที่ขุดพบในจังหวัดซานตาครูซ ทางตอนใต้ของปาตาโกเนีย
จุดเริ่มต้นการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ Dreadnoughtus ถูกขุดพบโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน เคนเนธ ลาโควารา (Kenneth Lacovara) ขุดเอซากดึกดำบรรพ์สัตว์ชนิดนี้ ภายในชั้นหิน Cerro Fortaleza รัฐปาตาโกเนีย ประเทศอาร์เจนตินา เนื่องจากฟอสซิลมีขนาดใหญ่ จึงต้องใช้เวลาและใช้ทีมงานจำนวนมาก เพื่อเคลื่อนย้ายฟอสซิลขึ้นรถบรรทุก
ต่อมาในปี 2009 ฟอสซิลเหล่านี้ ถูกส่งไปยังฟิลาเดลเฟีย เพื่อนำไปศึกษาและเตรียมวิเคราะห์ ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ถูกสแกนด้วยเลเซอร์ 3 มิติ NextEngine โดยใช้ซอฟต์แวร์ Autodesk Maya ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับฟอสซิลตัวอย่างดังกล่าว จนสามารถค้นพบสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ และได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า Dreadnoughtus schrani
ตัวเลขโฮโลไทป์ของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ได้แก่ MPM-PV 3546 ซึ่งประกอบไปด้วยโครงกระดูกหลังกะโหลกศีรษะ คาดว่าเป็นของไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัย ตามคำบอกเล่าของทีมนักวิจัย ที่พูดถึงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ พบว่าพวกมันมีขนาดร่างกายใหญ่โตมากที่สุด เท่าที่ทีมวิจัยได้มีการค้นพบ [3]
ที่มา: In popular culture [4]
โดยรวมแล้ว หลังจากที่มีการขุดพบฟอสซิลขนาดใหญ่ จนนำไปสู่การวิจัย และวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูล ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาได้ว่า ฟอสซิลนี้เป็นของไดโนเสาร์ชนิดใด และมีขนาดร่างกายที่โดดเด่นอย่างไร ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ด้วยรูปร่างที่โดดเด่นของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จึงมีบทบาทสำคัญในสื่อวัฒนธรรมสมัยนิยมต่างๆ อีกด้วย
สำหรับเจ้าไดโนเสาร์กินพืช คอยาว รูปร่างใหญ่โตชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่า ด้วยรูปร่างที่ใหญ่มากเกินไป ทำให้มันต้องมีพฤติกรรมการกิน หรือหาอาหารอยู่ตลอดเวลา และมันจะต้องใช้พลังงานให้น้อยที่สุด เพื่อความอยู่รอดในช่วงเวลาก่อนยุคประวัติศาสตร์
สำหรับวาฬสีน้ำเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบ จะมีน้ำหนักมากถึง 190 ตัน ซึ่งเทียบกับช้างแอฟริกาตัวผู้ขนาดใหญ่ถึง 32 ตัว แต่สำหรับไดโนเสาร์เดรดนอทัส ที่มีน้ำหนักเพียง 70-100 ตันเท่านั้น จึงได้ข้อมูลว่า วาฬสีน้ำเงินตัวนี้ จะมีขนาดที่ใหญ่โต และมีน้ำหนักมากกว่าไดโนเสาร์เดรดนอทัสนั่นเอง