
การค้นพบ แองคิโลซอรัส ไดโนเสาร์กินพืชติดอาวุธ
- Chono
- 86 views
การค้นพบ แองคิโลซอรัส ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเด่นตรงปลายหาง ที่มีอาวุธและเกราะป้องกันตัว การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ในตอนที่มันมีชีวิต ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 68 ล้านปีก่อน ฟอสซิลถูกพบทางตะวันตกของอเมริกาเหนือ
การค้นพบ แองคิโลซอรัส เริ่มต้นขึ้นในปี 1906 โดยคณะสำรวจของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน นำทีมโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน นามว่า บาร์นัม บราวน์ เขาได้ขุดเจอตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของ Ankylosaurus magniventris ในชั้นหิน Hell Creek ซึ่งใกล้กับตัวเมือง Gilbert Creek รัฐมอนแทนา
ในการออกสำรวจพื้นที่ดังกล่าว พบตัวอย่างฟอสซิลหลายชิ้น ได้แก่ กะโหลกศีรษะ ฟัน ไหล่ กระดูกสันหลังส่วนคอ กระดูกซี่โครง และแผ่นกระดูกเกราะมากกว่า 30 ชิ้น ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยา ได้อธิบายไดโนเสาร์ชนิดนี้ในทางวิทยาศาสตร์ เมื่อปี 1908 และสำหรับชื่อของมัน ถูกตั้งขึ้นโดยคำภาษากรีก แปลว่า “กิ้งก่าผสม”
ในปี 1910 คณะสำรวจได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ ในบริเวณชั้นหินสคอลลาร์ด ใกล้กับแม่น้ำเรดเดียร์ รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา เป็นตัวอย่างฟอสซิลที่เกือบสมบูรณ์ และทำให้นักสะสมฟอสซิลชาวอเมริกัน ชาร์ลส์ มอร์ทรัม สเติร์นเบิร์ก สามารถรวบรวมกะโหลกศีรษะและขากรรไกรล่าง โดยห่างออกไปทางเหนือ 1 กิโลเมตร [1]
สำหรับไดโนเสาร์กินพืชหุ้มเกราะขนาดใหญ่ พวกมันอาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือ ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส มันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Ankylosauridae ซึ่งจะประกอบไปด้วยไดโนเสาร์หุ้มเกราะหนา ยูโอโพลเซฟาลัสและโนโดซอรัส ไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันเมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ไดโนเสาร์ที่มีสะโพกคล้ายนก
สำหรับลักษณะร่างกายของมัน จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ มีผิวหนังเป็นเกราะ ทำให้มันมีรูปร่างคล้ายกับรถถังที่มีชีวิต เมื่อพวกมันเจริญเติบโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 33 ฟุต และมีน้ำหนักประมาณ 4 ตัน มันเป็นสัตว์กินพืชที่เคลื่อนไหวด้วยสี่ขา ขาหน้าและขาหลังสั้น ขาของมันมีลักษณะที่หนาและแข็งแรง
หัวของมันมีความยาวประมาณ 2.5 ฟุต มีลักษณะกว้างและยาว หัว ลำตัว และปลายหาง ถูกปกคลุมไปด้วยเกราะกระดูก และมีหนามขนาดใหญ่สองชิ้น ที่ยื่นออกมาจากข้างลำตัว และอีกหนึ่งลักษณะที่โดดเด่นของมัน ก็คือปลายหางที่มีลักษณะคล้ายกระบอง ซึ่งเป็นอาวุธที่ใช้สำหรับป้องกันตัวจากนักล่า
เมื่อไดโนเสาร์กินพืชทั้งสองสายพันธุ์นี้เข้าต่อสู้กัน นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า สเตโกซอรัสสามารถเอาชนะได้ ถึงแม้ว่าแองคิโลซอรัสมีอาวุธอันทรงพลังที่ปลายหาง อาจสร้างความเสียหายได้ แต่การที่จะเอาชนะสเตโกซอรัสจนถึงตายนั้น มันจำเป็นที่จะต้องใช้พละกำลังมหาศาล เพื่อที่จะโค่นล้มไดโนเสาร์มีหนามแหลมที่ปลายหาง
ในขณะเดียวกัน สเตโกซอรัสมีหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งมีความยาวถึง 3 ฟุต การแกว่งหางอย่างรุนแรงของมัน อาจส่งผลให้หนามแหลมทะลุเข้าผิวหนัง หรือทะลุส่วนหัวของแองคิโลซอรัส โดยส่วนใหญ่ ผลการตัดสิน จะมาจากขนาดของร่างกาย ไดโนเสาร์ตัวใดที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือใครเป็นคนเริ่มโจมตีก่อน ก็มีโอกาสชนะมากที่สุด
และถึงแม้ว่าไดโนเสาร์ทั้ง 2 ชนิดนี้ จะมีลักษณะที่คล้ายกัน อาจทำให้ใครหลายคนเกิดความสับสน โดยเฉพาะปลายหางที่มีลักษณะที่แปลกประหลาด และแผ่นกระดูกตามร่างกาย ทำให้พวกมันมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างก็คือ หนามแหลมที่ยื่นออกมาจากร่างกาย แต่ที่สำคัญ ไดโนเสาร์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เคยอาศัยอยู่ในยุคเดียวกัน [2]
แองคิโลซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินพืช มีปากที่กว้าง ทำให้มันสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเพราะปลูก ในพื้นที่ที่อยู่ในระดับต่ำ นักบรรพชีวินวิทยาคาดเดาว่า พวกมันอาจไม่ได้กินพืชชนิดเส้นใย หรือเนื้อไม้ แต่พวกมันอาจกินอาหารที่หลากหลาย รวมไปถึงพืชใบเหนียว ผลไม้ที่มีเนื้อ และอาจกินเฟิร์นจำนวนมากเป็นอาหาร
ลักษณะการกินของแองคิโลซอรัส พวกมันจะกินเฟิร์นมากถึง 60 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณพืชแห้งที่ช้างกิน ฟันมีรูปร่างเล็กและแหลม ปากเป็นจะงอย ในปี 1982 นักบรรพชีวินวิทยาได้ระบุไว้ว่า เมื่อพวกมันยังเป็นเด็ก จะมีฟันขนาดเล็กงอกขึ้นมา 2 ซี่ โดยมาจากการค้นพบฟอสซิลในชั้นหินลานซ์และเฮลล์ครีก
และตำแหน่งรูจมูกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งของกิ้งก่า และงู ถึงแม้ว่าแองคิโลซอรัสไม่มีพฤติกรรมขุดรู แต่อาจบ่งบอกถึงพฤติกรรมการเคลื่อนย้ายกองดิน เมื่อเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์กลุ่ม Ornithischians บ่งชี้ว่าแองคิโลซอรัส อาจมีพฤติกรรมการกินพืช และเนื้อสัตว์ขนาดเล็ก
สำหรับไดโนเสาร์กินพืช และมีหางเป็นอาวุธป้องกันตัว ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ในทวีปโบราณ ซึ่งปัจจุบันเป็นทวีปอเมริกาเหนือ สภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่นั้น มีลักษณะที่ค่อนข้างอบอุ่น มีพืชพรรณเขียวชอุ่ม และรายล้อมไปด้วยแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้พวกมันกินพืชได้หลากหลายชนิด
ปากที่กว้าง ทำให้พวกมันเป็นสัตว์ที่กินอาหารแบบไม่เลือกกิน กินพืชทุกชนิดที่หาได้ในช่วงเวลานั้น พฤติกรรมการกินของพวกมัน อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ส่วนการเคลื่อนไหวที่ช้า มาจากมวลน้ำหนักของร่างกายที่เยอะ และผิวหนังที่หุ้มด้วยเกราะกระดูก ทำให้มันมีท่ายืนที่มั่นคง พร้อมปกป้องตัวเองจาก ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ
จุดเด่นที่น่าสนใจของไดโนเสาร์ชนิดนี้
ที่มา: Interesting Points about Ankylosaurus [3]
ที่มา: In the media [4]
โดยรวมแล้ว การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในชั้นหิน Hell Creek จนนำไปสู่การศึกษาโครงสร้างทางร่างกาย ทำให้รู้ว่าพวกมันมีลักษณะร่างกายที่โดดเด่น โดยเฉพาะปลายหางของมัน ที่มีรูปลักษณ์คล้ายกระบอง และด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่นของมัน ทำให้แองคิโลซอรัสมีบทบาทในสื่อสมัยใหม่
สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มาจากการพุ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิลของพวกมันแทบทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอฟริกา ด้วยลักษณะการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า ทำให้มันอยู่บนโลกเพียง 66 ล้านปีก่อนเท่านั้น
ด้วยรูปร่างขนาดใหญ่ของมัน ที่มีลักษณะเทียบเท่ากับรถถัง ถึงแม้ว่ามันจะมีการเคลื่อนไหวที่ช้า ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ไม่สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ นั่นก็คือความเร็วเพียงแค่ 3 ไมล์ต่อชั่วโมง