
การค้นพบ อัลวอล์คเคเรีย ไดโนเสาร์เก่าแก่จากอินเดีย
- Chono
- 24 views
การค้นพบ อัลวอล์คเคเรีย หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์ ที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่ประเทศอินเดีย จากการศึกษาข้อมูลของซากดึกดำบรรพ์ พบว่าพวกมันเคยมีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังหัวข้อในเนื้อหาบทความ ดังนี้
การค้นพบ อัลวอล์คเคเรีย (Alwalkeria) เดิมทีชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีชื่อว่า Walkeria maleriensis แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลที่ค้นพบ ซังการ์ ฉัตเตอร์จี (Sankar Chatterjee) นักบรรพชีวินวิทยา ที่ได้มอบชื่อสายพันธุ์ใหม่ให้กับไดโนเสาร์ชนิดนี้ว่า Alwalkeria maleriensis เริ่มต้นใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในปี 1994
ในปี 2005 สองนักบรรพชีวินวิทยา ราหุต (Rauhut) และเรเมส (Remes) พบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้ ซึ่งพบว่าพวกมันเป็นไคเมร่า โดยศึกษาจากกะโหลกศีรษะด้านหน้า และกระดูกสันหลังของพวกมัน ที่สามารถอ้างอิงถึงสัตว์เลื้อยคลานยุคโบราณ อย่างไรก็ตาม กระดูกสันหลังที่มีลักษณะพิเศษ สันนิษฐานว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่อีกหนึ่งสายพันธุ์
และตัวอย่างที่เป็นที่รู้จัก นั้นก็คือโฮโลไทป์ ISI R306 ที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ ประกอบไปด้วยส่วนหน้าของขากรรไกร และส่วนล่างของกระดูกสันหลัง จำนวน 28 ชิ้น ถึงแม้ว่ามันมีอายุห่างจากไดโนเสาร์อีโอแรปเตอร์ แต่ทั้งสองมีฟันที่คล้ายคลึงกัน และมีกะโหลกศีรษะที่เชื่อมโยงทั้งสองเข้าด้วยกัน ในทางสัณฐานวิทยา
ในปี 1987 นักบรรพชีวินวิทยา แชตเตอร์จี (Chatterjee) ได้อธิบายข้อมูลของไดโนเสาร์ตัวนี้ และจัดให้มันอยู่ในประเภทเทอโรพอด หรือ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ และต่อมาในปี 1996 ข้อมูลนี้ก็ได้รับการสนับสนุน โดยเฉพาะการจำแนกประเภท และการทำความเข้าใจระหว่าง Alwalkeria และ Herrerasaurids ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน Protoavis
และด้วยเหตุผลนี้ ที่ทำให้พวกมันถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Herrerasauridae ซึ่งเป็นกลุ่มไดโนเสาร์กินเนื้อยุคโบราณ โดยพิจารณาจากลักษณะของกระดูกต้นขา ซึ่งผ่านมาในปี 2004 ก็ได้มีการสังเกตเห็นว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีอายุเก่าแก่ และมีความเก่าแก่มากกว่าที่จะเป็นเทอโรพอด จึงถือว่าเป็นซอริสเชียนขั้นพื้นฐาน
แต่ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ยังไม่ได้วิเคราะห์เชิงตามลำดับวงศ์ตระกูล แต่สันนิษฐานว่าพวกมันมีความคล้ายคลึงกับ Eoraptor แสดงให้เห็นว่า ไดโนเสาร์ทั้งสองชนิดนี้ อาจอยู่ในตำแหน่งที่คล้ายกันมาก ในแผนภูมิวงศ์ตระกูลไดโนเสาร์ และการวิเคราะห์ตัวอย่างพื้นฐาน ยืนยันว่าพวกมันเป็นเทอโรพอดพื้นฐานเช่นกัน [1]
ตัวอย่างฟอสซิลที่มีการค้นพบ ซึ่งเป็นตัวอย่างเพียงชิ้นเดียว ที่ถูกพบในหุบเขา Godavari จากตะกอน Maleri รัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งซากฟอสซิลถูกเก็บรวบรวมโดย Chatterjee ในปี 2517 ในชั้นหินโคลนสีแดง ที่ทับถมในช่วงยุค Carnian ที่อยู่ในช่วงยุคไทรแอกสสิก ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 235-228 ล้านปีก่อน
จากตำแหน่งที่มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ ต่อมาพบว่ามีการค้นพบฟอสซิลเทอโรพอดชนิดอื่นๆ ได้แก่ Jaklapallisaurus และ Nambalia รวมถึงซากเทอโรพอดระดับกลาง สามารถระบุได้ว่า อัลวอล์คเคเรียเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่ถูกพบในมาเลรี ซึ่งสถานที่นี้ถูกตีความว่าเป็นที่ตั้งของทะเลสาบ หรือแม่น้ำในยุคโบราณ
คำอธิบายหลังจากที่ศึกษาข้อมูลจากฟอสซิล พบว่าอัลวอล์คเคเรียเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กลุ่มแรกๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก พวกมันเป็นนักล่าตัวเล็ก ที่มีการแข่งขันกับสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น สัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม และไดโนเสาร์ตัวเล็กเหล่านี้ เป็นสายพันธุ์พื้นฐานจากไดโนเสาร์ในยุคต่อมา [2]
สำหรับลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ชนิดนี้ พวกมันเป็นนักล่าที่เคลื่อนไหวด้วยสองขาหลัง ลำตัวมีขนาดเล็ก มีกะโหลกศีรษะที่ยาว แขนและหางยาว ข้อมูลการศึกษาในปี 2010 จากนักบรรพชีวินวิทยา Gregory Paul คาดการณ์ไว้ว่า พวกมันมีความยาวประมาณ 5 ฟุต และมีน้ำหนักของร่างกายประมาณ 4.4 ปอนด์
บางแหล่งข้อมูลกล่าวไว้ว่า ด้วยลักษณะของฟันที่มีความพิเศษ ทำให้ไดโนเสาร์ชนิดนี้ สามารถกินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ หรืออาจกินทั้งแมลงและสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ฟันของมันมีลักษณะที่แตกต่างกัน ฟันหน้าเรียงตรงและเรียวยาว ซึ่งคล้ายกับลักษณะฟันของอีโอแรปเตอร์ และฟันมีลักษณะโค้งไปด้านหลัง แต่ไม่มีรอยหยัก
ส่วนกระดูกข้อเท้าและกระดูกต้นขา ซึ่งสันนิษฐานว่ามันเป็นเทอโรพอด ที่มีความคล้ายคลึงกับ Coelophysis และ Procompsignathus สำหรับฟอสซิลที่พบในชั้นหินโคลนสีแดง พบว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่มากที่สุด เท่าที่มีการค้นพบในประเทศอินเดีย
สำหรับถิ่นอาศัยของไดโนเสาร์ขนาดเล็กชนิดนี้ ปัจจุบันคือพื้นที่ของประเทศอินเดีย จากการขุดเจอซากฟอสซิลในชั้นหินมาเลรี ในยุคไทรแอกสสิกตอนปลาย ต่อมากลายเป็นแผ่นดินของประเทศอินเดีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแพนเจีย ยุคนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์หลากหลายชนิด เริ่มวิวัฒนาการ และก่อกำเนิดไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ในช่วงเวลาต่อมา
และในช่วงเวลาที่มหาทวีปแพนเจีย เริ่มแตกออกจากกัน ทำให้เกิดสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ส่งเสริมการวิวัฒนาการ และการกระจายสายพันธุ์ไดโนเสาร์ยุคแรกๆ หลังจากที่มีการศึกษาฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ทำให้นักวิจัยได้ข้อเท็จจริง ในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิต ดังนี้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้
ที่มา: Alwalkeria Facts [3]
พวกมันมีฟันที่สามารถปรับตัว เพื่อให้เข้ากับการกินเนื้อและพืช ดังนั้น พวกมันจึงมีพฤติกรรมการกินอาหารที่หลากหลาย ส่วนพฤติกรรมในระหว่างที่พวกมันมีชีวิต นักวิจัยเผยว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นสัตว์ขี้ตกใจ เนื่องจากไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ที่ขนาดร่างกายขนาดเล็ก ดังนั้น อัลวอล์คเคเรียจึงอาศัยความเร็วในการหลบหนี
จากการนำเสนอข้อมูลข้างต้น หลังจากที่มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยา รวมถึงนักวิจัย สามารถศึกษารายละเอียดหลากหลายด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ และข้อมูลในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่บนโลก ทำให้รู้ว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีความเก่าแก่มากที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบในอินเดีย
การวินิจฉัยทางกายวิภาค ทำให้นักวิจัยพบลักษณะบางอย่างในการวินิจฉัย ตามที่มีการกล่าวเอาไว้ในปี 1987 หลังจากที่มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และพบว่ากระดูกสันหลัง น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับ Alwalkeria
หลายท่านอาจรู้จักไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอด โดยเฉพาะ ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันพวกมันสูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว แต่การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นกเป็นลูกหลานของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถบินได้