
การค้นพบ สเตโกซอรัส สัตว์กินพืชหุ้มเกราะขนาดใหญ่
- Chono
- 50 views
การค้นพบ สเตโกซอรัส ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่มีรูปร่างโดดเด่นเฉพาะตัว จนทำให้มนุษย์ในยุคปัจจุบัน เขียนบทบาทให้มันมีชีวิต และได้ปรากฏตัวตามสื่อวัฒนธรรมสมัยนิยม สำหรับรายละเอียดข้อมูลในบทความนี้ ทางผู้เขียนจะพาไปดูประวัติการค้นพบฟอสซิล และช่องทางการพบเห็นพวกมันตามสื่อต่างๆ
การค้นพบ สเตโกซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์สัตว์กินพืช มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ครั้งแรก ในช่วงที่เกิดสงครามกระดูก (Bone Wars) พบโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน นามว่า โอทนีเอล ชาร์ลส์ มาร์ช ที่ได้พบเจอซากฟอสซิลโดยบังเอิญ ในหุบเขา Dinosaur Ridge ประกอบไปด้วยโครงกระดูกชิ้นเล็ก ที่กระจัดกระจายกันออกไปในแต่ละพื้นที่
มาร์ชต้องใช้เวลาได้การขุดหลายปี กว่าจะทราบว่าเป็นของสัตว์ชนิดใด รวมถึงการจัดท่าทางตอนที่พวกมันเสียชีวิต จนกระทั่งศตวรรษที่ 20 ทางพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้จัดแสดงตัวอย่างฟอสซิลที่แตกต่างกันหลายชนิด แม้ว่าจะพบฟอสซิลที่ไม่สมบูรณ์ แต่ไดโนเสาร์ชนิดนี้ กลับได้รับความสนใจจากผู้คน จากการรับชมผ่านทางภาพยนตร์ และสื่อต่างๆ
จากการขุดเจอซากดึกดำบรรพ์ พบว่ามีชิ้นส่วนที่เป็นของสเตโกซอรัส ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนหางหลายชิ้น แผ่นผิวหนัง และชิ้นส่วนหลังกะโหลกศีรษะ ที่ถูกพบเพิ่มเข้ามาทางตอนเหนือของชั้นหินมอร์ริสัน รัฐโคโลราโด สำหรับกระดูกที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ กลายเป็นโฮโลไทป์ต้นแบบของสายพันธุ์ Stegosaurus armatus
ลักษณะทางกายภาพของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะคล้ายกับหนามและเกราะหุ้มตัวของ แองคิโลซอรัส รวมถึงแผ่นกระดูกสันหลัง ที่วิวัฒนาการมาจากออสทีโอเดิร์ม ที่มีกระดูกสันหลังต่ำลงมา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทรีโอโฟแรน สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดกับสเตโกซอรัส ในยุคจจูราสสิกตอนต้น มีรายชื่อไดโนเสาร์ดังต่อไปนี้
ที่มา: Classification and species [1]
สำหรับ ไดโนเสาร์รักสงบ กินพืช Stegosaurus ที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 159-144 ล้านปีที่ผ่านมา ฟอสซิลที่ถูกค้นพบในโคโลราโด ไวโอมิง ยูทาห์ และโอคลาโฮมา จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ทำให้นักวิจัยได้ทราบถึงลักษณะทางกายภาพ และทำให้มนุษย์ในยุคปัจจุบันได้รู้ว่า สัตว์ชนิดนี้เคลื่อนไหวด้วยขาทั้ง 4 ข้าง
โดยปกติแล้ว เมื่อพวกมันโตเต็มวัย จะมีความยาวประมาณ 21 ฟุต มีความสูงตั้งแต่ศีรษะจนถึงสะโพก ประมาณ 10 ฟุต และมีน้ำหนักร่างกายโดยรวมประมาณ 2 ตัน ลักษณะเด่นอยู่ตรงแผ่นกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ ที่ทอดยาวตามแนวสันหลัง แผ่นกระดูกนี้มีความสูงถึง 2 ฟุต และปลายหางจะมีหนามแหลมงอกออกมา 2-4 คู่
ในส่วนของพฤติกรรมการดำรงชีวิต บ่งชี้ว่ามันเป็นสัตว์กินพืช มักจะใช้หางแหลม และแผ่นผิวหนังบนกระดูกสันหลังของมัน มีไว้สำหรับปกป้องตัวมันจากนักล่า อีกทั้งแผ่นกระดูกสันหลังเหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และที่สำคัญ พวกมันจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ เพื่อง่ายต่อการหาแหล่งอาหาร หรือรวมกันเพื่อไม่ให้ศัตรูเข้ามาโจมตีได้
สำหรับไดโนเสาร์ผิวหนังหุ้มเกราะ ปลายหางมีหนามแหลม พวกมันอาศัยอยู่ในยุคจูราสสิก ปัจจุบันคือพื้นที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ มีการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ในสถานที่ต่างๆ บนโลก ได้แก่ ยูทาห์ ซินเจียง และเซาท์ดาโคตา พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในบรรดาไดโนเสาร์หุ้มเกราะทั้งหมด
เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ ที่ได้รับการพรรณนาว่า สเตโกซอรัสในรูปแบบงานศิลปะ มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิม เนื่องจากมีการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ มากขึ้น ภาพประกอบในช่วงแรกๆ จะเห็นว่ามันเดินตัวตรง และหางชี้ต่ำลง แต่ในยุคปัจจุบัน จะเห็นท่าทางการเดินของมัน ด้วยการเหยียดขาหลังตรงขึ้น และยกหางสูงขึ้นไปบนอากาศ
ข้อเท็จจริงหลังจากขุดเจอฟอสซิล
ที่มา: Stegosaurus pictures and facts [2]
สำหรับไดโนเสาร์กินพืชเดินสี่ขา ที่มีลักษณะร่างกายที่โดดเด่น โดยเฉพาะเกราะหลังขนาดใหญ่ หนามแหลมตรงปลายหาง ศีรษะเล็ก ที่อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิก-ยุคครีเทเชียส ซึ่งสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ ฮัวหยางโกซอรัส (Huayangosaurus) และสายพันธุ์ไจแกนต์สไปโนซอรัส (Gigantspinosaurus)
การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ คณะสำรวจและพัฒนาทรัพยากรธรณีวิทยา ในประเทศจีน ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน ได้ค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ Bashanosaurus primitivus ในบริเวณเมืองฉงชิ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไดโนเสาร์สเตโกซอรัส และไทรีโอโฟแรน (Thyreophorans)
จากการขุดพบซากไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ประกอบไปด้วยกระดูกส่วนหลัง กระดูกไหล่ กระดูกต้นขา กระดูกส่วนเท้า และแผ่นเกราะของมันอีกหลายแผ่น นักวิจัยเผยว่า มันมีอายุถึงสมัยบาโจเชียน ที่อยู่ระหว่างยุคจูราสสิกตอนกลาง และคาดว่าพวกมันอยู่บนโลกนานกว่าสเตโกซอรัส เมื่อประมาณ 168 ล้านปีก่อน
ที่มา: In Popular Culture [3]
โดยรวมแล้ว ถึงแม้นักบรรพชีวินวิทยา จะสามารถขุดเจอฟอสซิล ที่กระจัดกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ และถึงแม้ว่าจะไม่มีฟอสซิลที่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถศึกษาข้อมูลได้อย่างละเอียด และพบว่ามันมีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่น โดยเฉพาะแผ่นกระดูก และหนามแหลมที่งอกอยู่ที่ปลายหาง จนทำให้มันปรากฏตัวในสื่อต่างๆ
สาเหตุที่ไดโนเสาร์ชนิดสูญพันธุ์ อาจเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์ จะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน เกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของพวกมัน และยังไม่ทราบว่าในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย มีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง ที่ส่งผลให้สัตว์ต่างๆ สูญพันธุ์ครั้งใหญ่
จากการศึกษาโครงสร้างทางร่างกาย โดยเฉพาะการเคลื่อนไหว 4 ขาของพวกมัน ลักษณะเหล่านี้บ่งชี้ว่ามันเดินไม่เร็วมากนัก เนื่องจากก้าวขาหลังเร็วกว่าขาหน้า นักวิจัยคาดเดาไว้ว่า พวกมันอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 15.3-17.9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง