
การค้นพบ ซินแรปเตอร์ ไดโนเสาร์กินเนื้อจากประเทศจีน
- Chono
- 46 views
การค้นพบ ซินแรปเตอร์ ไดโนเสาร์จากกลุ่มเทอโรพอด จากยุคจูราสสิกตอนปลาย ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 164-145 ล้านปีก่อน และเนื่องจากมันเป็นไดโนเสาร์นักล่า จึงมีขนาดร่างกายใหญ่โต จนทำให้มันเป็นนักล่าที่นาเกรงขามในช่วงเวลาที่พวกมันมีชีวิต เราจะพาไปดูประวัติการค้นพบฟอสซิล ดังข้อมูลต่อไปนี้
การค้นพบ ซินแรปเตอร์ สำหรับตัวอย่างฟอสซิล หรือโฮโลไทป์ตัวอย่างแรก ถูกขุดพบจากชั้นหินชิชูโกว (Shishugou) อยู่ในระหว่างการสำรวจ ซึ่งได้รับความร่วมมือระหว่างจีนและแคนาดา ออกสำรวจในทะเลทราย ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เริ่มต้นขึ้นในปี 1987 โดยตัวอย่างฟอสซิล ได้รับการอธิบายโดย ฟิลิป จอห์น เคอร์รี (Philip John Currie)
สำหรับการอธิบายตัวอย่างฟอสซิล เกิดขึ้นในปี 1994 กล่าวไว้ว่า ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ มีความสูงเกือบ 3 เมตร และมีความยาวประมาณ 7.6 เมตร ซึ่งได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์ไว้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ S. dongi เป็นต้นแบบของสายพันธุ์ที่ค้นพบ และ Yangchuanosaurus เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ที่สูญพันธุ์ไปในยุคูราสสิก
โดยไดโนเสาร์ทั้งสองสายพันธุ์นี้ มีความใกล้ชิดกันมาก และได้รับการจัดประเภทให้อยู่ในวงศ์ตระกูล Metriacanthosauridae กลุ่มไดโนเสาร์เทอโรพอดอัลโลซอรอยด์ ซึ่งอาศัยอยู่ในยุโรปและเอเชีย ตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนกลาง จนถึงยุคครีเทเชียสตอนต้น สำหรับฟอสซิลฟันของไดโนเสาร์ชนิดนี้ จะมีลักษระที่คล้ายกับฟันของไดโนเสาร์อัลโลซอรัส [1]
สำหรับไดโนเสาร์ซินแรปเตอร์ (Sinraptor) หนึ่งในสายพันธุ์ ไดโนเสาร์นักล่า กินเนื้อ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิก ปัจจุบันมีการค้นพบฟอสซิลในแถบเอเชีย ค้นพบฟอสซิลในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ มณฑลซินเจียง และมณฑลเสฉวน ของประเทศจีน
สำหรับไดโนเสาร์นักล่า ที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ ล้านปีก่อน ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย และไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถูกค้นพบครั้งแรก โดยคณะนักสำรวจของจีนและแคนาดา ในปี 1987-1994 จากการสำรวจฟอสซิล พบว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีความยาวประมาณ 25 ฟุต สูง 10 ฟุต และมีน้ำหนักของร่างกายประมาณ 2,000 ปอนด์
พวกมันอาจเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีนิสัยดุร้าย ถึงแม้ว่าจะมีขนาดที่เล็กกว่า แต่มีความสามารถในการล่าเหยื่อที่ดีกว่า เนื่องจากสัตว์กินพืชส่วนใหญ่ ล้วนมีขนาดร่างกายที่ใหญ่กว่าพวกมัน จึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการล่า ด้วยการออกล่าเหยื่อเป็นกลุ่ม บางครั้งอาจใช้วิธีการแยกไดโนเสาร์ที่อ่อนแอ แยกออกจากฝูง ก่อนที่จะนำมาจับกินเป็นอาหาร
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ไดโนเสาร์กินเนื้อ (เทอโรพอด) ที่มีร่างกายใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่ซินแรปเตอร์ นักบรรพชีวินวิทยาคาดการณ์ไว้ว่า มันอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร โดยมีเพียงแค่สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หยางชวนโนซอรัส ที่เป็นศัตรูทางธรรมชาติของพวกมัน และส่วนมากพวกมันมักล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า
นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้แยกออกเป็นสองสายพันธุ์ แม้ว่าจะยังคงเป็นหัวข้อที่มีการถกเถียง เกี่ยวกับอนุกรมวิธานที่แน่นอนของสายพันธุ์นี้ และอาจมีความใกล้ชิดกับไดโนเสาร์ Yangchuanosaurus และทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกะโหลกศีรษะ ถึงแม้จะมีการค้นพบฟอสซิลไม่กี่ชิ้น
ในยุคปัจจุบัน ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่พบในบริเวณพื้นที่ของประเทศจีน ถึงแม้จะมีการค้นพบฟอสซิลไม่กี่ชิ้น แต่การค้นพบโครงสร้างกระดูก ที่กลายเป็นฟอสซิล มีลักษณะที่สมบูรณ์เพียงแค่ตัวอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งคาดว่าเป็นของไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มวัย เมื่อเทียบกับหยางชวนโนซอรัส และอัลโลซอรัส พบว่ามันมีขนาดที่ใหญ่ถึง 10 เมตร
ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้ มีความหมายว่า “หัวขโมยจากประเทศจีน” และยังถูกจัดประเภทในกลุ่มเดียวกันกับอัลโลซอรัส ในตระกูล Allosauridae หุ่นจำลองของไดโนเสาร์ชนิดนี้ ที่มีขนาดเทียบเท่ากับของจริง จัดแสดงอยู่ด้านนอกของสถาบันบรรพชีวินวิทยา ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง และบรรพชีวินวิทยาในปักกิ่ง [2]
ที่มา: In the Media [3]
โดยรวมแล้ว ไดโนเสาร์ชนิดนี้ ถือเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง และมีขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบในประเทศจีน ด้วยลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นของพวกมัน ทำให้มนุษย์ได้เขียนบทบาท ให้พวกมันมีชีวิต ในโลกของวัฒนธรรมสมัยนิยม สามารถพบเจอพวกมันได้ ผ่านช่องทางการรับชม ที่ทางผู้เขียนนำเสนอไปข้างต้นได้เลย
กะโหลกศีรษะที่เต็มไปด้วยขนาดแหลมคมขนาดใหญ่ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการกัด และฉีกเนื้อของเหยื่อ สำหรับอาการ หรือไดโนเสาร์ที่พวกมันมักจะล่าเป็นอาหาร ส่วนมากจะเป็นเหยื่อที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน โดยเฉพาะไดโนเสาร์ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กกว่าพวกมัน
จากการศึกษาโครงสร้างทางร่างกาย โดยเฉพาะขาหลังที่มีขนาดใหญ่ ทรงพลัง ทำให้ไดโนเสาร์นักล่าตัวนี้ สามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 36 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (22 ไมล์ต่อชั่วโมง)